สูตรที่ ๑ ว่าด้วยโทษที่เป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 285
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
ปฐมปัณณาสก์
กัมมกรณวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยโทษที่เป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 285
พระสุตตันตปิฎก
อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
ปฐมปัณณาสก์
กัมมกรณวรรคที่ ๑
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยโทษที่เป็นไปในปัจจุบันและภพหน้า
[๒๔๗] (๑) ๑. ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้ โทษ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ โทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ๑ โทษที่เป็นไปในภพหน้า ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในปัจจุบันเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นโจรผู้ประพฤติความชั่ว พระราชาจับได้แล้ว รับสั่งให้ทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ
(๑) เลขในวงเล็บเป็นเลขข้อในพระบาลี เลขนอกวงเล็บเป็นเลขลำดับสูตร.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 286
(๑) กสาหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยแส้บ้าง
(๒) เวตฺเตหิปิ ตาเฬนฺเต โบยด้วยหวายบ้าง
(๓) อฑฺฒทณฺฑเกหิปิ ตาเฬนฺเต ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง
(๔) หตฺถํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดมือบ้าง
(๕) ปาทํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดเท้าบ้าง
(๖) หตฺถปาทํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง
(๗) กณฺณํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดหูบ้าง
(๘) นาสํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดจมูกบ้าง
(๙) กณฺณนาสํปิ ฉินฺทนฺเต ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง
(๑๐) พิลงฺคถาลิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "หม้อเคี่ยวน้ำส้ม" บ้าง
(๑๑) สงฺขมุณฺฑิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ขอดสังข์" บ้าง
(๑๒) ราหุมุขํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ปากราหู" บ้าง
(๑๓) โชติมาลิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ดอกไม้ไฟ" บ้าง
(๑๔) หตฺถปฺปชฺโชติกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "คบมือ" บ้าง
(๑๕) เอรกวฏฺฏิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ริ้วส่าย" บ้าง
(๑๖) จีรกวาสิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "นุ่งเปลือกไม้" บ้าง
(๑๗) เอเณยฺยกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ยืนกวาง" บ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 287
(๑๘) พฬิสมํสิกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "เกี่ยวเหยื่อเบ็ด" บ้าง
(๑๙) กหาปณกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "เหรียญกษาปณ์" บ้าง
(๒๐) ขาราปฏิจฺฉกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "แปรงแสบ" บ้าง
(๒๑) ปลิฆปริวฏฺฏกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "กางเวียน" บ้าง
(๒๒) ปลาลปีกํปิ กโรนฺเต ลงกรรมกรณ์วิธี "ตั่งฟาง" บ้าง
(๒๓) ตตฺเตนปิ เตเลน โอสิญฺจนฺเต ราดด้วยน้ำมันเดือดๆ บ้าง
(๒๔) สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ให้ฝูงสุนัขรุมทึ้งบ้าง
(๒๕) ชีวนฺตํปิ สูเล อุตฺตาเสนฺเต ให้นอนบนหลาวทั้งเป็นบ้าง
(๒๖) อสินาปิ สีสํ ฉินฺทนฺเต ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง
เขามีความคิดเห็นเช่นนี้ว่า เพราะบาปกรรมเช่นใดเป็นเหตุ โจรผู้ทำความชั่วจึงถูกพระราชาจับแล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบ้าง ก็ถ้าเรานี้แหละจะพึงทำบาปกรรมเช่นนั้น ก็พึงถูกพระราชาจับ แล้วทำกรรมกรณ์นานาชนิด คือ เอาหวายเฆี่ยนบ้าง ฯลฯ เอาดาบตัดหัวเสียบบ้าง ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน ไม่เที่ยวแย่งชิงเครื่องบรรณาการของคนอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 288
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษที่เป็นไปในภายหน้าเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ สำเหนียกดังนี้ว่า วิบากอันเลวทรามของกายทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของวจีทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ วิบากอันเลวทรามของมโนทุจริต เป็นโทษที่บุคคลจะพึงได้ในภพหน้าโดยเฉพาะ ก็ถ้าเราจะพึงประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ ทุจริตบางข้อนั้น พึงเป็นเหตุให้เราเมื่อแตกกายตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้ เขากลัวต่อโทษที่เป็นไปในภพหน้า จึงละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้สะอาด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าโทษเป็นไปในภพหน้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๒ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักกลัวต่อโทษที่เป็นไปในปัจจุบัน จักกลัวต่อโทษที่เป็นไปในภพหน้า จักเป็นคนขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นเครื่องหลุดพ้นจากโทษทั้งมวลอันบุคคลผู้ขลาดต่อโทษ มีปกติเห็นโทษโดยความเป็นของน่ากลัวจะพึงหวังได้.
จบสูตรที่ ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 289
มโนรถปูรณี
อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต
อรรถกถาสูตรที่ ๑
ทุกนิบาต สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า วชฺชานิ แปลว่า โทษ คือ ความผิด. บทว่า ทิฏฺธมฺมิกํ ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ ในอัตภาพนี้แหละ. บทว่า สมฺปรายิกํ ได้แก่ มีผลเกิดขึ้นในภายหน้า คือ ในอัตภาพที่ยังไม่มาถึง.
บทว่า อาคุจารึ ได้แก่ ผู้กระทำชั่ว คือ กระทำความผิด. บทว่า ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กโรนฺเต ความว่า ราชบุรุษทั้งหลายจับโจรมาลงกรรมกรณ์หลายอย่างต่างวิธี. แต่ชื่อว่าพระราชา ทรงให้ราชบุรุษลงกรรมกรณ์เหล่านั้น. บุคคลนี้เห็นโจรนั้นถูกลงกรรมกรณ์อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปสฺสติ โจรํ อาคุจารึ ราชาโน คเหตฺวา วิวิธา กมฺมกรณา กโรนฺเต ดังนี้. บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ ความว่า ด้วยไม้ตะบอง หรือด้วยท่อนไม้ที่เอาไม้ยาว ๔ ศอกมาตัดเป็น ๒ ท่อน ใส่ด้ามสำหรับถือไว้เพื่อประหาร.
บทว่า ทวิลงฺคถาลิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีทำให้เป็นหม้อเคี่ยวน้ำส้ม. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เปิดกะโหลกศีรษะ แล้วเอาคีมคีบก้อนเหล็กแดงใส่เข้าในกะโหลกศีรษะนั้น ด้วยเหตุนั้น มันสมองในศีรษะเดือดล้นออก. บทว่า สงฺขมุณฺฑิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ตัดหนังศีรษะแต่จอนหูทั้งสองข้างลงมาถึง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 290
ท้ายทอย แล้วรวบเส้นผมทั้งหมดผูกเป็นขมวด ใช้ไม้สอดบิดยกขึ้น ให้หนังเลิกหลุดขึ้นมาพร้อมทั้งผม ต่อแต่นั้น ก็ใช้ทรายหยาบขัดกะโหลกศีรษะ ล้างให้เกลี้ยงขาวเหมือนสังข์. บทว่า ราหุมุขํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีปากราหู. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ขอเหล็กเกี่ยวปากให้อ้าขึ้น แล้วจุดไฟในปากนั้น อีกวิธีหนึ่ง ใช้สิ่วตอกแต่จอนหูทั้งสองข้างลงไปทะลุปาก เลือดไหลออกมาเต็มปาก. บทว่า โชติมาลิกํ ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบน้ำมันพันทั่วทั้งตัว แล้วจุดไฟ. บทว่า หตฺถปฺปชฺโชติกํ ความว่า ใช้ผ้าเก่าชุบน้ำมันพันมือทั้งสอง แล้วจุดไฟต่างคบไฟ. บทว่า เอรกวฏฺฏิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่าย. เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังลอกออกเป็นริ้วๆ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงข้อเท้า แล้วใช้เชือกผูกโจรลากไป โจรเดินเหยียบริ้วหนังของตัวล้มลง. บทว่า จีรกวาสิกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธีนุ่งเปลือกไม้ เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น เชือดหนังเป็นริ้วๆ เหมือนอย่างแรกนั่นแหละ แต่ทำเป็น ๒ ตอน แต่ใต้คอลงมาถึงสะเอวตอน ๑ แต่สะเอวถึงข้อเท้าตอน ๑ ริ้วหนังตอนบนคลุมลงมาปิดกายตอนล่าง เป็นดังนุ่งเปลือกไม้. บทว่า เอเณยฺยกํ ได้แก่ ลงกรรมกรณ์วิธียืนกวาง เมื่อจะลงกรรมกรณ์วิธีนั้น ใช้ห่วงเหล็กสวมข้อศอกทั้งสอง และเข่าทั้งสองให้ก้มลงกับดิน สอดหลักเหล็กตอกตรึงไว้ เขาจะยืนอยู่บนดินด้วยหลักเหล็ก ๔ อัน แล้วก่อไฟล้อมลน เขาย่อมเป็นเหมือนกวางถูกไฟไหม้ตาย แม้ในอาคตสถานท่านก็กล่าวดังนี้เหมือนกัน. เมื่อเขาตายแล้ว ถอนหลักออก ให้เขายืน (เป็นสัตว์ ๔ เท้า) อยู่ด้วยปลายกระดูกทั้ง ๔ นั่นเอง. ชื่อว่าเหตุการณ์เห็นปานนี้ย่อมไม่มี. บทว่า พฬิสมํสิกํ ความว่า ใช้เบ็ดมีเงี่ยง ๒ ข้าง เกี่ยวหนังเนื้อเอ็นดึงออกมา. บทว่า กหาปณกํ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 291
ความว่า ใช้มีดคมเฉือนสรีระทุกแห่ง ตั้งแต่สะเอวออกเป็นแว่นๆ ขนาดเท่าเหรียญกษาปณ์. บทว่า ขาราปฏิจฺฉกํ ความว่า สับฟันให้ยับทั่วกาย แล้วใช้น้ำแสบราด ขัดถูด้วยแปรงให้หนังเอ็นหลุดออกมาหมด เหลือแต่กระดูก. บทว่า ปลิฆปริวฏฺฏกํ ความว่า จับนอนตะแคง ใช้หลาวเหล็กตอกตรงช่องหู ทะลุลงไปตรึงแน่นอยู่กับดิน แล้วจับเท้าทั้งสองยกเดินเวียนไป. บทว่า ปลาลปีกํ ความว่า เจ้าหน้าที่ผู้ฉลาดใช้ลูกบดศิลากลิ้งทับตัวให้กระดูกแตกป่น แต่ไม่ให้ผิวหนังขาด แล้วจับผมรวบยกเขย่าๆ ให้เนื้อรวมเข้าเป็นกอง ใช้ผมนั่นแหละ พันตะล่อมเข้าวางไว้เหมือนตั่งฟาง. บทว่า สุนเขหิปิ ขาทาเปนฺเต ความว่า ไม่ให้อาหารสุนัข ๒ - ๓ วัน แล้วให้ฝูงสุนัขที่หิวจัดกัดกิน เพียงครู่เดียวก็เหลือแต่กระดูก. บทว่า สูเล อุตฺตาเสนฺเต ได้แก่ ยกขึ้นนอนหงายบนหลาว.
บทว่า น ปเรสํ ปาภตํ วิลุมฺปนฺโต วิจรติ ความว่า เห็นสิ่งของของผู้อื่นมาอยู่ต่อหน้า โดยที่สุดแม้เป็นของที่มีค่าตั้ง ๑,๐๐๐ ตกอยู่ตามถนน ก็มิได้เที่ยวยื้อแย่งเอา ด้วยคิดว่า จักมีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งนี้ หรือคิดว่า ประโยชน์อะไรด้วยสิ่งนี้ ใช้หลังเท้าเขี่ยไป. บทว่า ปาปโก แปลว่า เลว ได้แก่ เป็นทุกข์ คือ ไม่น่าปรารถนา. บทว่า กิญฺจ ตํ ความว่า จะพึงมีเหตุนี้ได้อย่างไร. บทว่า เยนาหํ ตัดบทว่า เยน อหํ.
บทว่า กายทุจฺจริตํ ได้แก่ กายกรรมที่เป็นอกุศล ๓ อย่าง มีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า กายสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม ๓ อย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกายทุจริต. บทว่า วจีทุจฺจริตํ ได้แก่ วจีกรรมที่เป็นอกุศล ๔ อย่าง มีมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า วจีสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม ๔ อย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อวจีทุจริต. บทว่า มโนทุจฺจริตํ ได้แก่ มโนกรรมที่เป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 292
อกุศล ๓ อย่าง มีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า มโนสุจริตํ ได้แก่ กุศลกรรม ๓ อย่างที่เป็นปฏิปักษ์ต่อมโนทุจริต.
ในคำว่า สุทฺธํ อตฺตานํ ปริหรติ นี้ สุทธิมี ๒ อย่าง คือ ปริยายสุทธิ ๑ นิปปริยายสุทธิ ๑. จริงอยู่ บุคคลชื่อว่าบริหารตนให้หมดจดโดยปริยาย ด้วยสรณคมน์ ชื่อว่าบริหารตนให้หมดจดโดยปริยาย ด้วยศีล ๕ ด้วยศีล ๑๐ ด้วยจตุปาริสุทธิศีล ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยโสดาปัตติมรรค ฯลฯ ด้วยอรหัตตมรรคเหมือนกัน. ส่วนผู้ที่ดำรงอยู่ในอรหัตตผล เป็นพระขีณาสพ ยังขันธ์ ๕ ซึ่งมีรากขาดแล้ว ให้เป็นไปอยู่บ้าง ให้เคี้ยวกินบ้าง ให้บริโภคบ้าง ให้นั่งบ้าง ให้นอนบ้าง พึงทราบว่า บริหาร คือ ประคับประคองตนให้หมดจด คือ หมดมลทินโดยตรงทีเดียว. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะสองอย่างเหล่านี้เป็นโทษทีเดียว มิใช่ไม่เป็นโทษ. บทว่า วชฺชภีรุโน แปลว่า เป็นผู้ขลาดต่อโทษ. บทว่า วชฺชภยทสฺสาวิโน แปลว่า เห็นโทษเป็นภัยอยู่เสมอ. บทว่า เอตํ ปาฏิกงฺขํ ความว่า ข้อนี้จะพึงหวังได้ อธิบายว่า ข้อนี้จะมีแน่. บทว่า ยํ เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง เป็นตติยาวิภัตติ ความว่า เป็นเหตุเครื่องพ้นจากโทษทั้งปวง. ถามว่า จักพ้นด้วยเหตุไร. แก้ว่า พ้นด้วยมรรคที่ ๔ ด้วย ด้วยผลที่ ๔ ด้วย. ชื่อว่าพ้นด้วยมรรค เมื่อบรรลุผลแล้ว ชื่อว่าพ้นอย่างหมดจด. ก็อกุศลไม่ให้ผลแก่พระขีณาสพหรือ. ให้ผล. แต่อกุศลนั้น ท่านทำไว้ก่อนแต่ยังไม่เป็นพระขีณาสพ และให้ผลในอัตภาพนี้เท่านั้น ในสัมปรายภพ ผลกรรมไม่มีแก่ท่าน.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑