พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๕ ว่าด้วยคุณของธรรม ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38441
อ่าน  368

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 297

สูตรที่ ๕

ว่าด้วยคุณของธรรม ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 297

สูตรที่ ๕

ว่าด้วยคุณของธรรม ๒ อย่าง

[๒๕๑] ๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ทั่วถึงคุณของธรรม ๒ อย่าง คือ ความเป็นผู้ไม่สันโดษในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ย่อหย่อนในความเพียร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิญาณอันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ธรรมอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอันเรานั้นได้บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้เธอทั้งหลายจะพึงเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 298

เพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายก็จักทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตต้องการนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จักเริ่มตั้งความเพียรอันไม่ย่อหย่อนว่า จะเหลืออยู่แต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที เนื้อและเลือดในสรีระจงเหือดแห้งไปเถิด ยังไม่บรรลุผลที่บุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยวแรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษแล้ว จักไม่หยุดความเพียรเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทฺวินฺนาหํ ตัดบทเป็น ทฺวินฺนํ อหํ. บทว่า อุปญฺาสึ ความว่า ได้เข้าไปรู้ คือ ทราบคุณ อธิบายว่า แทงตลอด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงธรรมเหล่านั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยา จ อสนฺตุฏฺิตา เป็นต้น. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยธรรม ๒ นี้ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงอานุภาพของธรรม ๒ อย่างนั้น จึงตรัสอย่างนี้. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อสนฺตุฏฺิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ นี้ แสดงความดังนี้ว่า เราไม่สันโดษด้วยเพียงฌานนิมิตหรือด้วยเพียงโอภาสนิมิต ยังอรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นได้ คือ เราไม่สันโดษชั่วเวลาที่อรหัตตมรรคยังไม่เกิดขึ้น. และเราไม่ท้อถอยในความเพียรตั้งอยู่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 299

โดยไม่ย่อหย่อนเลย ได้กระทำความเพียร เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความดังกล่าวนี้ จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยา จ อปฺปฏิวาณิตา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปฏิวาณิตา แปลว่า ความไม่ก้าวกลับ คือ ไม่ย่อหย่อน. บทว่า สุทํ ในคำนี้ว่า อปฺปฏิวาณํ สุทาหํ ภิกฺขเว ปทหาสึ เป็นเพียงนิบาต ในข้อนี้มีเนื้อความดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตั้งอยู่ในความไม่ย่อหย่อน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญู ได้กระทำความเพียรเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์. บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงวิธีกระทำความเพียร จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า กามํ ตโจ จ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ยนฺตํ นี้ ทรงแสดงคุณชาตที่จะพึงบรรลุ. ในบทว่า ปุริสถาเมน เป็นต้น ตรัสถึงพลังที่ให้เกิดญาณ ความเพียรที่ให้เกิดญาณ ความบากบั่นที่ให้เกิดญาณของตน. บทว่า สณฺานํ ได้แก่ อยู่ คือ ไม่เป็นไปย่อหย่อน อธิบายว่า ระงับ. ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้ ชื่อว่าพระองค์ตรัสความตั้งใจมั่นในการบำเพ็ญเพียรซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔. แลในที่นี้ บทว่า กามํ ตโจ เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า นหารุ จ เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า อฏฺิ เป็นองค์หนึ่ง. บทว่า มํสโลหิตํ เป็นองค์หนึ่ง. องค์ ๔ เหล่านี้เป็นชื่อของความเพียรอย่างยิ่งยวด มีบทว่า ปุริสถาเมน เป็นต้น. ความเพียรที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ข้างต้น ด้วยประการฉะนี้ ตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าการตั้งความบำเพ็ญเพียรซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔. ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัสอาคมนียปฏิปทาของพระองค์ ณ โพธิบัลลังก์ บัดนี้ เพื่อจะตรัสคุณที่พระองค์ได้มาด้วยปฏิปทานั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตสฺส มยฺหํ ภิกฺขเว เป็นต้น บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทาธิคตา ความว่า ได้แล้ว

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 300

ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือ ความไม่อยู่ปราศจากสติ. บทว่า โพธิ ได้แก่ จตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณ. ด้วยว่า ผู้ที่มัวเมาประมาทไม่อาจบรรลุจตุมรรคญาณและสัพพัญญุตญาณนั้นได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น พระองค์จึงตรัสว่า อปฺปมาทาธิคตา โพธิ ดังนี้. บทว่า อนุตฺตโร โยคกฺเขโม ความว่า มิใช่แต่ปัญญาเครื่องตรัสรู้อย่างเดียวเท่านั้น แม้ธรรมอันปลอดจากเครื่องผูกอันยอดเยี่ยม กล่าวคือ อรหัตตผล นิพพาน เราก็ได้บรรลุด้วยความไม่ประมาทนั่นแล. บัดนี้ เมื่อจะทรงให้ภิกษุสงฆ์ยึดถือในคุณที่พระองค์ได้มา จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ตุมฺเห เจปิ ภิกฺขเว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์แก่ผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใด อธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเข้าถึงผลอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันใดอยู่. บทว่า ตทนุตฺตรํ ได้แก่ ผลอันยอดเยี่ยมนั้น. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสานํ ได้แก่ อริยผล ซึ่งเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. บทว่า อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า ทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่ง คือ ด้วยปัญญาอันสูงสุด. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหริสฺสถ ความว่า จักได้เฉพาะ คือ บรรลุอยู่. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะธรรมดาความเพียรอย่างไม่ท้อถอยนี้ มีอุปการะมาก ให้สำเร็จประโยชน์แล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๕