พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38442
อ่าน  453

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 300

สูตรที่ ๖

ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 300

สูตรที่ ๖

ว่าด้วยความพอใจและความหน่ายในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์

[๒๕๒] ๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 301

ไฉน คือ ความตามเห็นโดยความพอใจในธรรมอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ความพิจารณาเห็นด้วยอำนาจควานหน่ายในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ตามเห็นโดยความพอใจในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะไม่ได้ ย่อมละโทสะไม่ได้ ย่อมละโมหะไม่ได้ เรากล่าวว่า บุคคลยังละราคะไม่ได้ ยังละโทสะไม่ได้ ยังละโมหะไม่ได้แล้ว ย่อมไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้พิจารณาเห็นด้วยอำนาจความหน่ายในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์อยู่ ย่อมละราคะได้ ย่อมละโทสะได้ ย่อมละโมหะได้ เรากล่าวว่า บุคคลละราคะ ละโทสะ ละโมหะได้แล้ว ย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ย่อมพ้นจากทุกข์ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สญฺโชนิเยสุ ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ๑๐. บทว่า อสฺสาทานุปสฺสิตา ความว่า ความเห็น คือ ภาวะที่เห็น โดยความเป็นอัสสาทะน่ายินดี. บทว่า นิพฺพิทานุปสฺสิตา ความว่า ความเห็นด้วยอำนาจความเบื่อหน่าย คือ ด้วยอำนาจความเอือมระอา. บทว่า ชาติยา ได้แก่ จากความเกิดแห่งขันธ์. บทว่า ชราย ได้แก่ จากความแก่แห่งขันธ์. บทว่า มรเณน ได้แก่ จาก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 302

ความแตกแห่งขันธ์. บทว่า โสเกหิ ได้แก่ จากความโศกซึ่งมีลักษณะเกรียมภายใน. บทว่า ปริเทเวหิ ได้แก่ จากความคร่ำครวญซึ่งมีลักษณะรำพันอาศัยความโศกนั้น. บทว่า ทุกฺเขหิ ได้แก่ จากทุกข์ที่บีบคั้นกาย. บทว่า โทมนสฺเสหิ ได้แก่ จากโทมนัสที่บีบคั้นใจ. บทว่า อุปายาเสหิ ได้แก่ จากความคับแค้นซึ่งมีลักษณะคับใจอย่างยิ่ง. บทว่า ทุกฺขสฺมา ได้แก่ จากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น. บทว่า ปชหติ ได้แก่ ย่อมละได้ด้วยมรรค. ในบทว่า ปหาย นี้ ตรัสขณะแห่งผล. ในสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖