พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๙ ว่าด้วยโลกบัญญัติคําว่ามารดาเป็นต้นเพราะอาศัยธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38445
อ่าน  357

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 304

สูตรที่ ๙

ว่าด้วยโลกบัญญัติคําว่ามารดาเป็นต้น เพราะอาศัยธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 304

สูตรที่ ๙

ว่าด้วยโลกบัญญัติคำว่ามารดาเป็นต้น เพราะอาศัยธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่าง

[๒๕๕] ๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ย่อมคุ้มครองโลก ๒ อย่างเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้แล ถ้าธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ไม่พึงคุ้มครองโลก ใครๆ ในโลกนี้จะไม่พึงบัญญัติ ว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจักถึงความสำส่อนกัน เหมือนกับพวกแพะ พวกแกะ พวกไก่ พวกหนู พวกสุนัขบ้าน และพวกสุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมฝ่ายขาว ๒ อย่างนี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น โลกจึงบัญญัติคำว่ามารดา ว่าน้า ว่าป้า ว่าภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครูอยู่.

จบสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โลกํ ปาเลนฺติ ความว่า ย่อมดำรงโลกไว้ คือ ให้อยู่ ได้แก่ รักษาไว้. บทว่า นยิธ ปฺาเยถ มาตา ความว่า มารดาผู้ให้กำเนิดในโลกนี้ จะไม่พึงปรากฏเป็นที่เคารพนับถือว่า หญิงผู้นี้เป็นมารดาของเรา แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สมฺเภทํ ได้แก่ ความระคนกัน หรือความไม่มีขอบเขต. ในคำว่า ยถา อเชฬกา เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ด้วยว่า สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่สำนึกด้วยความเคารพนับถือว่า หญิงผู้นี้เป็นมารดาของเรา หรือว่าเป็นป้าของเรา ย่อมปฏิบัติผิดใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 305

วัตถุที่ตนได้อาศัยเกิดขึ้นนั่นเอง ฉะนั้น เมื่อทรงเปรียบเทียบ จึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ยถา อเชฬกา เป็นต้น.

จบสูตรที่ ๙