สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยวัสสูปนายิการเข้าพรรษา ๒ อย่าง
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 305
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยวัสสูปนายิกา การเข้าพรรษา ๒ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 305
สูตรที่ ๑๐
ว่าด้วยวัสสูปนายิกา การเข้าพรรษา ๒ อย่าง
[๒๕๖] ๑๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ วัสสูปนายิกาต้น ๑ วัสสูปนายิกาหลัง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัสสูปนายิกา ๒ อย่างนี้แล.
จบสูตรที่ ๑๐
จบกัมมกรณวรรคที่ ๑
อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้
สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เพราะมีเหตุให้เกิดเรื่อง อะไรเป็นเหตุให้เกิดเรื่อง การโพนทะนาของพวกมนุษย์เป็นเหตุให้เกิดเรื่อง.
เรื่องมีว่า ๒๐ พรรษาตอนปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้ทรงบัญญัติวันเข้าพรรษา ภิกษุทั้งหลายไม่มีความผูกพันเรื่องพรรษา จาริกไปตามสบายทั้งในฤดูร้อน ทั้งในฤดูหนาว ทั้งในฤดูฝน. พวกมนุษย์เห็นดังนั้น พากันโพนทะนากล่าวคำเป็นต้นว่า ทำไมพระสมณะศากยบุตร ถึงได้จาริกกันทั้งหน้าหนาว ทั้งหน้าร้อน ทั้งหน้าฝน เหยียบย่ำหญ้าระบัด เบียดเบียนสิ่งมีชีวิต ทำสัตว์เล็กๆ มากมายให้ลำบาก
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 306
ถึงพวกอัญญเดียรถีย์ที่กล่าวธรรมไม่ดีไม่ชอบเหล่านี้ ก็ยังหยุดพักหลบฝน นกทั้งหลายทำรังที่ปลายต้นไม้ยังหยุดพักหลบฝน ดังนี้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกเรื่องนั้นเป็นเหตุ ทรงแสดงสูตรนี้ ตรัสพระพุทธดำรัสเป็นปฐมเพียงเท่านี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษา ดังนี้. ต่อมา ทรงทราบว่า พวกภิกษุเกิดวิตกกันว่าควรเข้าจำพรรษาเมื่อไร จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้เข้าจำพรรษาในฤดูฝน. ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสงสัยกันว่า วันเข้าพรรษามีกี่วัน พากันกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้น เมื่อทรงแสดงสูตรนี้ทั้งสิ้น จึงตรัสพระพุทธดำรัสเป็นต้นว่า เทฺวมา ภิกฺขเว ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วสฺสูปนายิกา แปลว่า วันเข้าพรรษา. บทว่า ปุริมิกา ความว่า เมื่อถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ พึงเข้าพรรษา ๓ เดือนแรก มีวันเพ็ญเดือน ๑๑ เป็นที่สุด. บทว่า ปจฺฉิมิกา ความว่า เมื่อเดือน ๘ ล่วงไป พึงเข้าพรรษา ๓ เดือนหลัง มีวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นที่สุด.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
จบกัมมกรณวรรคที่ ๑