พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๒ ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38448
อ่าน  341

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 308

สูตรที่ ๒

ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 308

สูตรที่ ๒

ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง

[๒๕๘] ๑๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้ ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ปฏิสังขานพละ ๑ ภาวนาพละ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 309

ก็ปฏิสังขานพละเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริตแล ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า วิบากของมโนทุจริต ชั่วช้าทั้งในชาตินี้และในภพเบื้องหน้า ครั้นเขาพิจารณาดังนี้แล้ว ย่อมละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต บริหารตนให้บริสุทธิ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าปฏิสังขานพละ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภาวนาพละเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ... ย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าภาวนาพละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ในบทว่า สติสมฺโพชฺฌงฺคํ ภาเวติ เป็นต้น มีพรรณนาความของบทที่ยังมิได้มีมาในหนหลัง ดังนี้. บทว่า วิเวกนิสฺสิตํ ได้แก่ อาศัยวิเวก. ความสงัด ชื่อว่าวิเวก. วิเวกดังกล่าวนี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังควิเวก วิกขัมภนวิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิวิเวก และนิสสรณวิเวก.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 310

ในวิเวก ๕ อย่างนั้น. ในบทว่า วิเวกนิสฺสิตํ พึงทราบเนื้อความว่า ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยตทังควิเวก อาศัยสมุจเฉทวิเวก และอาศัยนิสสรณวิเวก. จริงอย่างนั้น พระโยคีผู้บำเพ็ญสติสัมโพชฌงคภาวนา ในขณะวิปัสสนาย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยตทังควิเวกโดยกิจ อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย แต่ในขณะมรรคอาศัยสมุจเฉทวิเวกโดยกิจ อาศัยนิสสรณวิเวกโดยอารมณ์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาศัยวิเวกทั้ง ๕ อย่างก็มี. จริงอยู่ อาจารย์เหล่านั้น มิใช่ยกโพชฌงค์ทั้งหลายขึ้นในขณะแห่งพลววิปัสสนา มรรค และผลจิตอย่างเดียวเท่านั้น แม้ในกสิณฌาน อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน และพรหมวิหารฌาน ซึ่งเป็นบาทแห่งวิปัสสนาก็ยกขึ้นด้วย แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายก็ไม่ปฏิเสธ ฉะนั้น ตามมติของอาจารย์เหล่านั้น ในปวัตติขณะแห่งฌานเหล่านั้น อาศัยวิกขัมภนวิเวกโดยกิจเท่านั้น เหมือนอย่างที่กล่าวว่า ในขณะวิปัสสนาอาศัยนิสสรณวิเวกโดยอัชฌาสัย ฉันใด ก็ควรจะกล่าวว่า เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยปฏิปัสสัทธิวิเวกก็ได้ ฉันนั้น. แม้ในสติสัมโพชฌงค์ที่อาศัยวิราคะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ธรรมมีวิราคะเป็นต้น มีในอรรถว่าสงัดเหมือนกัน. ก็ความสละในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ มี ๒ อย่างเท่านั้น คือ ความสละโดยบริจาค ๑ ความสละโดยแล่นไป ๑. ใน ๒ อย่างนั้น บทว่า ปริจฺจาคโวสฺสคฺโค ได้แก่ การละกิเลสอย่างชั่วขณะในวิปัสสนาขณะ และอย่างเด็ดขาดในมรรคขณะ. บทว่า ปกฺขนฺทนโวสฺสคฺโค ได้แก่ การแล่นไปสู่พระนิพพาน โดยน้อมไปในพระนิพพานนั้นในวิปัสสนาขณะ แต่ในมรรคขณะ โดยทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์. ความสละทั้ง ๒ อย่างนั้น ย่อมใช้ได้ใน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 311

สติสัมโพชฌงค์ ซึ่งระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระนี้ ตามนัยที่มาในอรรถกถา จริงอย่างนั้น สติสัมโพชฌงค์นี้ ย่อมสละกิเลส แล่นไปสู่พระนิพพาน โดยประการดังกล่าวแล้ว. อนึ่ง ด้วยคำทั้งสิ้นว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ ท่านอธิบายว่า. ตั้งอยู่ในความสละ คือ ที่กำลังน้อมไปก็น้อมไป และที่กำลังจะแก่กล้าก็แก่กล้าไป. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญโพชฌงคภาวนานี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ โดยประการที่สติสัมโพชฌงค์จะแก่กล้าและแก่กล้าแล้ว เพื่อโวสสัคคะ คือ ความสละกิเลส เพื่อโวสสัคคะ คือ แล่นไปสู่พระนิพพาน. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็พระนิพพานนี้แหละ ท่านกล่าวว่า วิเวก เพราะสงัดจากสังขตธรรมทุกอย่าง กล่าวว่า วิราคะ เพราะสำรอกสังขตธรรมทุกอย่าง กล่าวว่า นิโรธ เพราะเป็นธรรมที่ดับสังขตธรรม. ก็มรรคนั่นแหละ ชื่อว่าน้อมไปในความสละ เพราะฉะนั้น ภิกษุเจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก โดยทำวิเวกให้เป็นอารมณ์เป็นไป อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธก็เหมือนกัน และสติสัมโพชฌงค์นั้นแล น้อมไปแล้ว แก่กล้าแล้ว โดยสละกิเลส เหตุละได้อย่างเด็ดขาดในขณะอริยมรรคเกิดขึ้น โดยแล่นไปสู่พระนิพพานนั่นเอง พึงเห็นเนื้อความนี้ ดังกล่าวมาฉะนี้แล. แม้ในโพชฌงค์ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสระคนกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้ ความเป็นเลิศในพละ ๒ แม้เหล่านี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๒