พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๔ ว่าด้วยการแสดงธรรมของตถาคต ๒ อย่าง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38450
อ่าน  466

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 313

สูตรที่ ๔

ว่าด้วยการแสดงธรรมของตถาคต ๒ อย่าง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 313

สูตรที่ ๔

ว่าด้วยการแสดงธรรมของตถาคต ๒ อย่าง

[๒๖๐] ๑๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 314

ตถาคต ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ โดยย่อ ๑ โดยพิสดาร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสดงธรรมของพระตถาคต ๒ อย่างนี้แล.

จบสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า สงฺขิตฺเตน จ วิตฺถาเรน จ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมเทศนามี ๒ เท่านั้น คือ ธรรมเทศนาโดยสังเขป ธรรมเทศนาโดยพิสดาร. ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาที่ตรัสแสดงเฉพาะหัวข้อ ชื่อเทศนาโดยสังเขป. เทศนาที่ตรัสแยกแยะหัวข้อนั้นๆ ชื่อเทศนาโดยพิสดาร. อีกอย่างหนึ่ง เทศนาที่ทรงตั้งหัวข้อก็ตาม ไม่ทรงตั้งก็ตาม ตรัสแยกแยะโดยพิสดาร ชื่อว่าเทศนาโดยพิสดาร. ในเทศนา ๒ อย่าง นั้น เทศนาโดยสังเขป ตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญามาก เทศนาโดยพิสดารตรัสแก่บุคคลที่มีปัญญาน้อย. เพราะเทศนาโดยพิสดาร ย่อมเป็นเหมือนเนิ่นช้าอย่างยิ่งแก่ผู้มีปัญญามาก. เทศนาโดยสังเขป ย่อมเป็นเหมือนกระต่ายกระโดดแก่ผู้มีปัญญาน้อย ไม่อาจจับต้นชนปลายได้. อนึ่ง เทศนาโดยสังเขป ตรัสแก่บุคคลประเภทอุคฆติตัญญู เทศนาโดยพิสดารตรัสแก่บุคคล ๓ ประเภทนอกนี้ (วิปจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ). พระไตรปิฎกทั้งสิ้นย่อมนับเข้าในข้อนี้ว่า เทศนาโดยสังเขป เทศนาโดยพิสดาร นั่นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๔