สูตรที่ ๕ ว่าด้วยเหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 315
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยเหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 315
สูตรที่ ๕
ว่าด้วยเหตุให้อธิกรณ์ยืดเยื้อและไม่ยืดเยื้อ
[๒๖๑] ๑๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังมิได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อการมีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักไม่เป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ จักไม่เป็นไปเพื่อการมีวาจาหยาบ จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร คือ ภิกษุผู้ต้องอาบัติในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า เราแลต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าเราจะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นก็จะไม่พึงเห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็เพราะเหตุที่เราต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ภิกษุนั้นจึงได้เห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละภิกษุนั้น ครั้นเห็นเราผู้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวเราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ เราผู้มีวาจาไม่ชอบใจ ถูกภิกษุนั้นว่ากล่าวแล้ว ย่อมไม่ชอบใจ เมื่อไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเราคนเดียว
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 316
เท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษีฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ต้องอาบัติ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ในธรรมวินัยนี้ ย่อมสำเหนียกดังนี้ว่า ภิกษุนี้แลต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว ฉะนั้น เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ถ้าภิกษุนี้จะไม่พึงต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจะไม่พึงเห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย แต่เพราะเหตุที่ภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย เราจึงได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกาย ก็แหละเรา ครั้นได้เห็นภิกษุนี้ต้องอาบัติอันเป็นอกุศลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายแล้ว เป็นผู้ไม่ชอบใจ เราเมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้ว่ากล่าวภิกษุนี้ผู้มีวาจาไม่ชอบใจ ภิกษุนี้มีวาจาไม่ชอบใจเมื่อถูกเราว่ากล่าวอยู่ เป็นผู้ไม่ชอบใจ เมื่อเป็นผู้ไม่ชอบใจ ได้บอกแก่ผู้อื่นว่า ด้วยเหตุนี้ โทษในเหตุนี้จึงครอบงำแต่เฉพาะเราคนเดียวเท่านั้น เหมือนกับในเรื่องสินค้า โทษครอบงำผู้จำต้องเสียภาษีฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ ย่อมพิจารณาตนด้วยตนเองให้ดีด้วยประการฉะนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ ยังไม่ได้พิจารณาตนด้วยตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักเป็นไปเพื่อความยืดเยื้อ เพื่อความมีวาจาหยาบคาย เพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ส่วนในอธิกรณ์ใด ที่ภิกษุผู้ต้องอาบัติ และภิกษุผู้เป็นโจทก์ พิจารณาตนเองด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 317
ตนเองให้ดี ในอธิกรณ์นั้น พึงหวังได้ว่า จักไม่เป็นไปเพื่อความมีวาจาหยาบคาย จักไม่เป็นไปเพื่อความร้ายกาจ และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ผาสุก.
จบสูตรที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๕
ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ยสฺมึ ภิกฺขเว อธิกรเณ ความว่า ในอธิกรณ์ใด ในบรรดาอธิกรณ์ ๔ เหล่านี้ คือ วิวาทาธิกรณ์ อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ และกิจจาธิกรณ์. บทว่า อาปนฺโน จ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ต้องอาบัติ. บทว่า ตเสฺมตํ ตัดบทเป็น ตสฺมึ เอตํ แปลว่า ในอธิกรณ์นั้น ข้อที่พึงหวังนั้น. บทว่า ทีฆตฺตาย ได้แก่ เพื่อตั้งอยู่ตลอดกาลนาน. บทว่า ขรตฺตาย ได้แก่ เพื่อกล่าววาจาหยาบอย่างนี้ว่า ทาส เหี้ย จัณฑาล ช่างสาน. บทว่า วาฬตฺตาย ได้แก่ เพื่อความร้าย คือ ประหารด้วยก้อนหิน ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น. บทว่า ภิกฺขู จ น ผาสุํ วิหริสฺสนฺติ ความว่า เมื่อภิกษุวิวาทกัน ภิกษุที่ประสงค์จะเรียนอุเทศ หรือปริปุจฉา หรือประสงค์จะบำเพ็ญเพียรเหล่านั้นจักอยู่ไม่ผาสุก. เมื่อภิกษุสงฆ์ทำอุโบสถหรือปวารณา ภิกษุที่มีความต้องการอุเทศเป็นต้น ย่อมไม่อาจเรียนอุเทศเป็นต้นได้ พวกภิกษุผู้เจริญวิปัสสนาย่อมไม่เกิดจิตมีอารมณ์เดียว แต่นั้นก็ไม่อาจให้คุณวิเศษบังเกิดได้ ภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุกด้วยอาการอย่างนี้แล. ในบทว่า น ทีฆตฺตาย เป็นต้น พึงทราบเนื้อความโดยนัยตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว. บทว่า อิธ แปลว่า ในศาสนานี้. บทว่า อิติ ปฏิสญฺจิกฺขติ แปลว่า พิจารณาอยู่อย่างนี้. บทว่า อกุสลํ ในข้อว่า อกุสลํ อาปนฺโน นี้ ทรงหมายถึงอาบัติ. ความว่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 318
ต้องอาบัติ. บทว่า กิญฺจิเทว เทสํ ความว่า มิใช่อาบัติทั้งหมดทีเดียว แต่เป็นอาบัติบางส่วนเท่านั้น อธิบายว่า อาบัติบางอย่าง. บทว่า กาเยน ได้แก่ กรัชกาย. บทว่า อนตฺตมโน แปลว่า มีจิตไม่ยินดี. บทว่า อนตฺตมนวาจํ แปลว่า วาจาไม่น่ายินดี. บทว่า มเมว แปลว่า แก่เราผู้เดียว. บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในเหตุนั้น. บทว่า อจฺจโย อจฺจคมา ความว่า ความผิดได้ล่วงเกินย่ำยี (ข้าพเจ้า) ข้าพเจ้าผู้เดียวมีความผิดในเรื่องนี้. บทว่า สุงฺกทายิกํว ภณฺฑสฺมึ ความว่า เมื่อนำสินค้าเลี่ยงด่านภาษี ความผิดย่อมตกอยู่แก่ผู้นำสินค้าเลี่ยงภาษี เขาแหละเป็นผู้ผิดในเรื่องนั้น ไม่ใช่พระราชา ไม่ใช่ราชบุรุษ. ท่านอธิบายว่า ผู้ใดนำสินค้าเลี่ยงด่านภาษีที่พระราชาทรงตั้งไว้ พวกราชบุรุษเอาเกวียนนำผู้นั้นพร้อมด้วยสินค้ามาแสดงแก่พระราชา โทษไม่มีแก่ด่านภาษี ไม่มีแก่พระราชา ไม่มีแก่พวกราชบุรุษ แต่โทษมีแก่ผู้เลี่ยงด่านภาษีเท่านั้น ภิกษุรูปนั้นก็ฉันนั้นนั่นแล ต้องอาบัติใดแล้วในเรื่องนั้น อาบัตินั้นไม่มีโทษ ภิกษุผู้โจทก์ก็ไม่มีโทษ แต่ภิกษุผู้ต้องอาบัติรูปนั้นเท่านั้นมีโทษ ด้วยเหตุ ๓ ประการ. ด้วยว่า เธอมีโทษด้วยความเป็นผู้ต้องอาบัติบ้าง. มีโทษด้วยความที่ภิกษุผู้เป็นโจทก์ไม่พอใจบ้าง มีโทษด้วยเมื่อมีผู้ไม่พอใจบอกอาบัติแก่ผู้อื่นบ้าง. แต่สำหรับภิกษุผู้โจทก์ เธอได้เห็นภิกษุนั้นต้องอาบัติ ในข้อนั้นไม่มีโทษ แต่มีโทษเพราะโจทก์ด้วยความไม่พอใจ แม้ไม่ใส่ใจถึงข้อนั้น ภิกษุนี้ก็พิจารณาเห็นโทษของตน ชื่อว่าย่อมใคร่ครวญอย่างนี้ว่า เป็นอย่างนี้ โทษในกรณีนั้นย่อมตกอยู่แก่ข้าพเจ้าผู้เดียว ดุจโทษเพราะสินค้าที่นำเลี่ยงภาษีมาฉะนั้น. ในทุติยวาร พึงประกอบเนื้อความว่า โทษ ๒ อย่าง คือ ภิกษุผู้โจทก์ไม่พอใจ ๑