พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๘ ทุจริต ๓ และ สุจริต ๓

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38454
อ่าน  417

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 340

สูตรที่ ๘

ทุจริต ๓ เป็นกิจที่ไม่ควรทําโดยส่วนเดียว เพราะมีโทษ ๕ ประการ

สุจริต ๓ เป็นกิจที่ควรทําโดยส่วนเดียว เพราะมีอานิสงส์ ๕ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 340

สูตรที่ ๘

ทุจริต ๓ เป็นกิจที่ไม่ควรทําโดยส่วนเดียว เพราะมีโทษ ๕ ประการ

สุจริต ๓ เป็นกิจที่ควรทําโดยส่วนเดียว เพราะมีอานิสงส์ ๕ ประการ

[๒๖๔] ๑๘. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.

พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วย่อมติเตียนได้ ๓. กิตติศัพท์ชั่วย่อมกระฉ่อนไป ๔. เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจไม่ควรทำโดยส่วนเดียว โทษอย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว.

อา. ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 341

อานิสงส์อะไรอันผู้นั้นพึงหวังได้.

พ. ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้ คือ ๑. แม้ตนก็ติเตียนตนเองไม่ได้ ๒. ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วสรรเสริญ ๓. กิตติศัพท์อันดีย่อมกระฉ่อนไป ๔. ไม่เป็นคนหลงทำกาละ ๕. เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

ดูก่อนอานนท์ เมื่อบุคคลทำกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ที่เรากล่าวว่าเป็นกิจควรทำโดยส่วนเดียว อานิสงส์อย่างนี้อันผู้นั้นพึงหวังได้.

จบสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

คำว่า อายสฺมา เป็นคำแสดงความรัก. คำว่า อานนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า เอกํเสน แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า อนุวิจฺจ แปลว่า ใคร่ครวญแล้ว. บทว่า วิญฺญู ได้แก่ บัณฑิต. บทว่า ครหนฺติ แปลว่า ตำหนิ คือ กล่าวโทษ. คำที่เหลือในที่นี้ ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘