พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหาย และตั้งมั่น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38456
อ่าน  345

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 343

สูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหาย และตั้งมั่น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 343

สูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างที่เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลือนหาย และตั้งมั่น

[๒๖๖] ๒๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ๑ อรรถที่นำมาไม่ดี ๑. แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ก็ย่อมเป็นอันนำมาไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความฟั่นเฟือนเลือนหายแห่งพระสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม ๒ อย่างเป็นไฉน คือ บทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ๑ อรรถที่นำมาดี ๑ แม้เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ตั้งไว้ดีแล้ว ก็ย่อมเป็นอันนำมาดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม.

จบสูตรที่ ๑๐

จบอธิกรณวรรคที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตญฺจ ปทพฺยญฺชนํ ได้แก่ บาลีที่เรียงไว้ผิดลำดับ ก็บทนั่นแหละเรียกว่า พยัญชนะ เพราะเป็นที่ปรากฏชัดแห่งข้อความ. บทและพยัญชนะทั้งสองนั้น เป็นชื่อของบาลีนั่งเอง. บทวา อตฺโถ จ ทุนฺนึโต ความว่า อรรถกถาแห่งบาลีที่แปลจับความผิดลำดับ. บทว่า ทุนฺนิกฺขิตสฺส ภิกฺขเว ปทพฺยญฺชนสฺส อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 344

ความว่า อรรถกถาของบาลีที่แปลจับความผิดลำดับสับสน ย่อมชื่อว่า นำมาชั่ว ทำชั่ว.

จบอรรถกถาที่ ๑๐

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑ (๑)

ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบเนื้อความโดยนัยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

จบอธิกรณวรรคที่ ๒


(๑) ในพระบาลีมีเพียง ๑๐ สูตร สูตรที่ ๑๑ รวมอยู่ในข้อ ๒๖๖ ซึ่งเป็นสูตรที่ ๑๐.