พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๑ ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  18 ต.ค. 2564
หมายเลข  38469
อ่าน  332

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 356

สมจิตตวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 356

สมจิตตวรรคที่ ๔

สูตรที่ ๑

ว่าด้วยภูมิของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๗๗] ๓๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้ เป็นภูมิสัตบุรุษ.

จบสูตรที่ ๑

สมจิตตวรรคที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๑

สมจิตตวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อสปฺปุริสภูมึ ได้แก่ ฐานะที่ดำรงอยู่ของพวกอสัตบุรุษ. แม้ในภูมิของสัตบุรุษ ก็นัยนี้แหละ. บทว่า อกตญฺญู ได้แก่ ไม่รู้บุญคุณ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 357

ที่ผู้อื่นกระทำแก่ตน. บทว่า อกตเวที ได้แก่ ไม่รู้บุญคุณที่ผู้อื่นกระทำแก่ตนโดยทำให้ปรากฏ. บทว่า อุปญฺญาตํ แปลว่า ยกย่อง ชมเชย สรรเสริญ. บทว่า ยทิทํ แปลว่า นี้ใด (หมายความว่า คือ). บทว่า อกตญฺุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นกระทำ และความไม่รู้อุปการะที่ผู้อื่นการทำโดยทำให้ปรากฏ (ไม่ตอบแทนคุณเขา). บทว่า เกวลา แปลว่า ทั้งสิ้น. แม้ในธรรมฝ่ายขาว ก็พึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑