สูตรที่ ๑ ว่าด้วยบริษัท ๒ จําพวก คือ ตื้น และลึก
[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 400
ปริสวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยบริษัท ๒ จําพวก คือ ตื้น และลึก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 400
ปริสวรรคที่ ๕
สูตรที่ ๑
ว่าด้วยบริษัท ๒ จำพวก คือ ตื้น และ ลึก
[๒๘๗] ๔๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทตื้น ๑ บริษัทลึก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทตื้นเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุฟุ้งซ่านเชิดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทตื้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทลึกเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทใดในธรรมวินัยนี้ มีภิกษุไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เชิดตัว มีจิตไม่กวัดแกว่ง ปากไม่กล้า ไม่พูดจาอื้อฉาว ดำรงสติมั่น มีสัมปชัญญะ มีใจตั้งมั่น มีจิตเป็นเอกัคคตา สำรวมอินทรีย์ บริษัทเช่นนี้ เรียกว่า บริษัทลึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทลึกเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ ๑
อรรถกถาปริสวรรคที่ ๕
อรรถกถาสูตรที่ ๑
วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุตฺตานา ได้แก่ เปิดเผย ไม่ปกปิด. บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ เร้นลับ ปกปิด. บทว่า อุทฺธตา ได้แก่ ประกอบด้วยความ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 401
ฟุ้งเฟ้อ. บทว่า อุนฺนฬา ได้แก่ ถือดี อธิบายว่า มีมานะเปล่าๆ ปลี้ๆ ที่ตั้งขึ้น. บทว่า จปลา ความว่า ประกอบด้วยความชุกซนมีตกแต่งจีวรเป็นต้น. บทว่า มุขรา ได้แก่ ปากจัด วาจาหยาบ. บทว่า วิกิณฺณวาจา ได้แก่ พูดไม่สำรวม พูดคำที่ไร้ประโยชน์ได้ทั้งวัน. บทว่า มุฏฺสฺสตี ได้แก่ ปล่อยสติ. บทว่า อสมฺปชานา ได้แก่ ไร้ปัญญา. บทว่า อสมาหิตา ได้แก่ ไม่ได้แม้เพียงความที่จิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า ปากตินฺทฺริยา ความว่า ประกอบด้วยอินทรีย์ที่ตั้งอยู่ตามปกติ เปิดเผย ไม่รักษา (ไม่สำรวม). ฝ่ายขาว พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.
จบอรรถกถาสูตรที่ ๑