พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๖ ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38484
อ่าน  348

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 407

สูตรที่ ๖

ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 407

สูตรที่ ๖

ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน

[๒๙๒] ๔๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 408

วินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวได้ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทดื้อด้าน ไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่คนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอนสวน เที่ยวไต่ถามกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 409

เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอนถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

โอกฺกาจิตวินีตา ได้แก่ ฝึกสอนยาก. บทว่า โน ปฏิปุจฺฉาวินีตา ได้แก่ ไม่เป็นผู้รับฝึกสอนโดยสอบถาม. บทว่า คมฺภีรา ได้แก่ ลึกโดยบาลี เช่น จุลลเวทัลลสูตร. บทว่า คมฺภีรตฺถา ได้แก่ ลึกโดยอรรถ เช่น มหาเวทัลลสูตร. บทว่า โลกุตฺตรา ได้แก่ แสดงอรรถเป็นโลกุตระ. บทว่า สุญฺตปฏิสํยุตฺตา ได้แก่ ประกาศเพียงที่เป็นสุญญตธรรม ๗ เท่านั้น เช่น อสังขตสังยุต. บทว่า น อญฺาจิตฺตํ อุปฏฺเปนฺติ ได้แก่ ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ คือ หลับเสียบ้าง ส่งใจไปที่อื่นเสียบ้าง. บทว่า อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ ได้แก่ ที่จะพึงถือเอาด้วย ที่จะพึงเล่าเรียนด้วย. บทว่า กวิกตา ได้แก่ ที่กวีแต่ง. บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง. บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร. บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน. บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา. บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรก-

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 410

ศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้. บทว่า สุสฺสูสนฺติ ความว่า มีใจแช่มชื่นตั้งใจฟังอย่างดี เพราะมีอักษรวิจิตรและสมบูรณ์ด้วยบท. บทว่า น เจว อญฺมญฺํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ความว่า มิได้ถามเนื้อความ อนุสนธิหรือเบื้องต้นเบื้องปลายกันและกัน. บทว่า น ปฏิวิจรนฺติ ความว่า มิได้เที่ยวไปไต่ถาม. บทว่า อิทํ กถํ ความว่า พยัญชนะนี้พึงเข้าใจอย่างไร คือ พึงเข้าใจว่าอย่างไร. บทว่า อิมสฺส กฺวตฺโถ ความว่า ภาษิตนี้มีเนื้อความอย่างไร มีอนุสนธิอย่างไร มีเบื้องต้นและเบื้องปลายอย่างไร บทว่า อวิวฏํ ได้แก่ ที่ยังปกปิด. บทว่า น วิวรนฺติ ได้แก่ ไม่เปิดเผย. บทว่า อนุตฺตานีกตํ ได้แก่ ที่ไม่ปรากฏ. บทว่า น อุตฺตานีกโรนฺติ ความว่า มิได้ทำให้ปรากฏ. บทว่า กงฺขาฏฺานีเยสุ ได้แก่ อันเป็นเหตุแห่งความสงสัย. ฝ่ายขาว ก็พึงทราบตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖