พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๑๐ ว่าด้วยบริษัท ๒ คือ อธรรมวาทีและธรรมวาที

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38488
อ่าน  393

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 416

สูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยบริษัท ๒ คือ อธรรมวาทีและธรรมวาที


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 416

สูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยบริษัท ๒ คือ อธรรมวาทีและธรรมวาที

[๒๙๖] ๕๐. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ อธรรมวาทีบริษัท ๑ ธรรมวาทีบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ไม่ยังกันและกันให้ยินยอม ไม่เข้าถึงความตกลงกัน ไม่ยังกันและกันให้เพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมีการไม่ตกลงกันเป็นกำลัง มีการไม่เพ่งโทษตนเป็นกำลัง คิดไม่สละคืน ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นแหละด้วยกำลัง ด้วยลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "อธรรมวาทีบริษัท."

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมวาทีบริษัทเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ ภิกษุทั้งหลายยึดถืออธิกรณ์ เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรมก็ตาม ภิกษุเหล่านั้น ครั้นยึดถืออธิกรณ์นั้นแล้ว ยังกันและกันให้ยินยอม เข้าถึงความตกลงกัน ยังกันและกันให้เพ่งโทษ เข้าถึงการเพ่งโทษตน ภิกษุเหล่านั้นมีความตกลงกันเป็นกำลัง คิดสละคืน ไม่ยึดมั่นอธิกรณ์นั้นด้วยกำลัง ด้วยการลูบคลำ แล้วกล่าวว่า "คำนี้เท่านั้นจริง คำอื่นเปล่า" ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า "ธรรมวาทีบริษัท" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้แล ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 417

ภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ ธรรมวาทีบริษัทเป็นเลิศ.

จบสูตรที่ ๑๐

จบปริสวรรคที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อธิกรณํ ได้แก่ อธิกรณ์ ๔ อย่าง มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. บทว่า อาทิยนฺติ แปลว่า ถือเอา. บทว่า สญฺาเปนฺติ แปลว่า ให้รู้กัน. บทว่า น จ สญฺตฺตึ อุปคจฺฉนฺติ ความว่า ไม่ประชุมแม้เพื่อประกาศให้รู้กัน. บทว่า น จ นิชฺฌาเปนฺติ ได้แก่ ไม่ให้เพ่งโทษกัน. บทว่า น จ นิชฺฌตฺตึ อุปคจฺฉนฺติ ความว่า ไม่ประชุมเพื่อให้เพ่งโทษกันและกัน. บทว่า อสฺตฺติพลา ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า อสญฺตฺติพลา เพราะมีการไม่ตกลงกันเป็นกำลัง. บทว่า อปฺปฏินิสฺสคฺคมนฺติโน ความว่า ภิกษุเหล่าใดมีความคิดอย่างนี้ว่า ถ้าอธิกรณ์ที่พวกเราถือ จักเป็นธรรมไซร้ พวกเราจักถือ ถ้าไม่เป็นธรรมไซร้ พวกเราจักวางมือ ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีการไม่คิดสละคืน. แต่ภิกษุเหล่านี้ไม่คิดกันอย่างนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่าไม่มีการคิดกันสละคืน. บทว่า ถามสา ปรามสา อภินิวิสฺส ความว่า ยึดมั่นโดยกำลังทิฏฐิและโดยการลูบคลำทิฏฐิ. บทว่า อิทเมว สจฺจํ ความว่า คำของพวกเรานี้เท่านั้น จริง. บทว่า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 418

โมฆมญฺํ ความว่า คำของพวกที่เหลือเป็นโมฆะ คือ เปล่า. ฝ่ายขาว มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบปริสวรรคที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์