พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๙ กินนรเห็นประโยชน์ ๒ ประการ จึงไม่พูดภาษามนุษย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38497
อ่าน  390

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 424

สูตรที่ ๙

กินนรเห็นประโยชน์ ๒ ประการจึงไม่พูดภาษามนุษย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 424

สูตรที่ ๙

กินนรเห็นประโยชน์ ๒ ประการ จึงไม่พูดภาษามนุษย์

[๓๐๕] ๕๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้ จึงไม่พูดภาษามนุษย์ อำนาจประโยชน์ ๒ ประการเป็นไฉน คือ เราอย่าพูดเท็จ ๑ เราอย่าพูดตู่ผู้อื่นด้วยคำไม่จริง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กินนรเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ ประการนี้แล จึงไม่พูดภาษามนุษย์.

จบสูตรที่ ๙

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 425

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กึปุริสา ได้แก่ กินนร. บทว่า มานุสึ วาจํ น ภาสนฺติ ความว่า ไม่พูดภาษามนุษย์.

เล่ากันมาว่า ราษฎรนำกินนรตัวหนึ่งมาแสดงแก่พระเจ้าธรรมาโศก. พระองค์มีรับสั่งว่า พวกท่านจงให้มันพูด. กินนรไม่ปรารถนาจะพูด. บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรนี้พูด จึงพากินนรลงไปยังปราสาทชั้นล่าง ตอกหลัก ๒ หลักแล้วยกหม้อข้าวขึ้นตั้ง. หม้อข้าวตกลงข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. กินนรเห็นดังนั้น ก็กล่าวคำเพียงเท่านี้ว่า ตอกหลักเพิ่มอีกหลักหนึ่งจะไม่เหมาะหรือ. เวลาต่อมา เขานำกินนรมาแสดงอีก ๒ ตัว พระราชามีรับสั่งว่า พวกเจ้าจงให้มันพูด. กินนรทั้งสองนั้นก็ไม่ปรารถนาจะพูด. บุรุษคนหนึ่งคิดว่า เราจักให้กินนรทั้งสองนี้พูด จึงได้พากินนรเหล่านั้นไปตลาด. ที่ตลาดนั้น กินนรตัวหนึ่งได้เห็นมะม่วงสุกและปลา กินนรอีกตัวหนึ่งได้เห็นผลมะขวิดและผลไม้มีรสเปรี้ยว. บรรดากินนร ๒ ตัวนั้น กินนรตัวหนึ่งพูดว่า เพื่อนยาก พวกมนุษย์เคี้ยวกิน (ผลไม้มีมะม่วงเป็นต้น) พวกเขาจะไม่เป็นโรคกลากได้อย่างไรเล่า. กินนรอีกตัวหนึ่งพูดว่า คนเหล่านี้อาศัยปลาและผลไม่นั้น จะไม่เป็นโรคเรื้อนได้อย่างไรเล่า. กินนรทั้งหลายแม้ไม่อาจพูดภาษามนุษย์ แต่เมื่อเห็นอำนาจประโยชน์ ๒ อย่างดังกล่าวมานี้ ก็พูดแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙