พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

สูตรที่ ๑๒ ว่าด้วยอธิกรณ์ที่เป็นเหตุให้ภิกษุอยู่ไม่ผาสุกและอยู่ผาสุก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  19 ต.ค. 2564
หมายเลข  38500
อ่าน  351

[เล่มที่ 33] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 430

สูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยอธิกรณ์ที่เป็นเหตุให้ภิกษุอยู่ไม่ผาสุกและอยู่ผาสุก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 33]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 430

สูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยอธิกรณ์ที่เป็นเหตุให้ภิกษุอยู่ไม่ผาสุกและอยู่ผาสุก

[๓๐๘] ๖๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอธิกรณ์ใด การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฏฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด ยังไม่สงบระงับไป ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักเป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยืดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่ไม่ผาสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนในอธิกรณ์ใดแล การด่าโต้ตอบกัน ความแข่งดีกันเพราะทิฏฐิ ความอาฆาตแห่งใจ ความไม่พอใจ ความขึ้งเคียด สงบระงับดีแล้ว ณ ภายใน ความมุ่งหมายนี้ในอธิกรณ์นั้น จักไม่เป็นไปเพื่อความเป็นอธิกรณ์ยึดเยื้อ กล้าแข็ง ร้ายแรง และภิกษุทั้งหลายจักอยู่เป็นผาสุก.

จบสูตรที่ ๑๒

จบปุคคลวรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ในสูตรที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุภโต วจีสํสาโร ความว่า วาจาที่สาดใส่กันและกันออกมาเป็นด่า และด่าตอบกันทั้งสองฝ่าย ชื่อว่าการต่อปากต่อคำ. บทว่า ทิฏฺฐิปลาโส ความว่า การตีเสมอมีลักษณะเทียบคู่ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิ ชื่อว่าการตีเสมอด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า เจตโส อาฆาโต ได้แก่ ความโกรธ. จริงอยู่ ความโกรธนั้น เกิดขึ้นทำจิตให้อาฆาต. บทว่า อปฺปจฺจโย ได้แก่ อาการที่ไม่ยินดี อธิบายว่า โทมนัส. บทว่า

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาคที่ ๒ - หน้า 431

อนภิรทฺธิ ได้แก่ ความโกรธนั่นเอง. ก็ความโกรธนั้น ท่านเรียกว่า อนภิรทฺธิ เพราะไม่ยินดีอย่างยิ่ง. บทว่า อชฺฌตฺตํ อวูปสนฺตํ โหติ ความว่า เรื่องนั้นทั้งหมดไม่สงบเสียได้ ในจิตของตนซึ่งเป็นภายในของตน และในบริษัทของตน คือ สัทธิวิหาริกและอันเตวาสิก. บทว่า ตเสฺมตํ ตัดบทเป็น ตสฺมึ เอตํ แปลว่า ข้อที่จะพึงหวังได้ในอธิกรณ์เรื่องนั้น. บทที่เหลือ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๒

จบปุคคลวรรคที่ ๑