พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ลักขณสูตร ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38623
อ่าน  530

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 5

ปฐมปัณณาสก์

พาลวรรคที่ ๑

๒. ลักขณสูตร

ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 5

๒. ลักขณสูตร

ว่าด้วยลักษณะของพาลและบัณฑิต

[๔๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีกรรมเป็นลักษณะ บัณฑิตก็มีกรรมเป็นลักษณะ ปัญญาปรากฏในอปทาน (ความประพฤติ)

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า เป็นคนพาล ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นพาล

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 6

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ พึงทราบได้ว่า เป็นบัณฑิต ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล พึงทราบเถิดว่า เป็นบัณฑิต

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใดพึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลายจักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใดพึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

จบลักขณสูตรที่ ๒

อรรถกถาลักขณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในลักขณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

กรรมที่เป็นไปทางกายทวารเป็นต้น เป็นลักษณะ คือ เป็นเหตุให้หมายรู้บุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่ามีกรรมเป็นลักษณะ.

ปัญญาที่งามด้วยความประพฤติ (จริต) ชื่อว่า อปทานโสภนีปัญญา. อธิบายว่า พาลและบัณฑิต ย่อมปรากฏด้วยกรรมที่ตนประพฤติมาแล้วนั่นแล.

จริงอยู่ ทางที่คนพาลไปแล้ว ย่อมเป็นเหมือนทางไปของไฟป่าซึ่งลามไปเผาไหม้ต้นไม้ กอไม้ คามนิคมเป็นต้นฉะนั้น. ปรากฏเหลือก็แต่เพียงสถานที่ที่ปลูกบ้านเท่านั้น ซึ่งเต็มไปด้วยถ่าน เขม่า และเถ้า. ส่วนทางที่บัณฑิตไป เหมือนทางที่เมฆฝนซึ่งตั้งเค้าขึ้นทั้ง ๔ ทิศ แล้วตกลงมาเต็มหลุมและบ่อเป็นต้น นำความงอกงามของรวงข้าวกล้าชนิดต่างๆ มาให้ฉะนั้น. สถาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 7

ที่ที่มีน้ำเต็ม และมีผลาผลของข้าวกล้าชนิดต่างๆ งอกงาม ปรากฏอยู่ในทางที่เมฆฝนซึ่งตั้งเค้าขึ้นฉันใด ในทางที่บัณฑิตดำเนินไป ก็มีสมบัติอย่างเดียวเท่านั้น ไม่มีวิบัติเลยฉันนั้น. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีความหมายง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาลักขณสูตรที่ ๒