พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. จินตสูตร ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38624
อ่าน  439

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 7

ปฐมปัณณาสก์

พาลวรรคที่ ๑

๓. จินตสูตร

ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 7

๓. จินตสูตร

ว่าด้วยลักษณะแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับคนพาล

[๔๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทานของคนพาล มี ๓ อย่าง ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ คนพาลในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติ ก็ถ้าคนพาลจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จักเขาได้อย่างไรว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล ก็เพราะเหตุที่คนพาลย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ชั่วโดยปกติ พูดคำชั่วโดยปกติ และทำการชั่วโดยปกตินั่นแล คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า อสัตบุรุษผู้นี้เป็นคนพาล นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ นิมิต อปทาน ๓ อย่างของคนพาล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่ลักษณะ นิมิต อปทาน ของบัณฑิตมี ๓ อย่าง ๓ อย่างคืออะไรบ้าง คือ บัณฑิตในโลกนี้ ย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติ ก็ถ้าบัณฑิตจักไม่เป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกติแล้วไซร้ คนฉลาดทั้งหลายจะพึงรู้จัก

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 8

เขาได้อย่างไรว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต ก็เพราะเหตุที่บัณฑิตย่อมเป็นผู้คิดอารมณ์ดีโดยปกติ พูดคำดีโดยปกติ และทำการดีโดยปกตินั่นแล คนฉลาดทั้งหลายจึงรู้จักเขาได้ว่า สัตบุรุษผู้นี้เป็นบัณฑิต นี่แล ภิกษุทั้งหลาย ลักษณะ นิมิต อปทาน ๓ อย่างของบัณฑิต

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกในข้อนี้อย่างนี้ว่า บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใดพึงทราบได้ว่าเป็นคนพาล เราทั้งหลายจักละเสียซึ่งธรรม ๓ ประการนั้น บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการเหล่าใดพึงทราบได้ว่าเป็นบัณฑิต เราทั้งหลายจักถือธรรม ๓ ประการนั้นประพฤติ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

จบจินตสูตรที่ ๓

อรรถกถาจินตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจินตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า พาลลกฺขณานิ ได้แก่ ที่ชื่อว่าพาลลักษณะ (ลักษณะของคนพาล) เพราะเป็นเครื่องให้คนทั้งหลายกำหนด คือรู้ได้ว่าผู้นี้เป็นพาล. ลักษณะเหล่านั้นแล เป็นเหตุให้หมายรู้คนพาลนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเครื่องหมายของคนพาล. บทว่า พาลาปทานานิ ได้แก่ ความประพฤติของคนพาล. บทว่า ทุจฺจินฺติตจินฺตี ความว่า คนพาลเมื่อคิด ย่อมคิดแต่เรื่องที่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 9

ไม่ดี ด้วยอำนาจ อภิชฌา พยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ. บทว่า ทุพฺภาสิตภาสี ความว่า แม้เมื่อจะพูด ก็ย่อมพูดแต่คำพูดที่ไม่ดี แยกประเภทเป็นมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า ทุกฺกฏกมฺมการี ความว่า แม้เมื่อทำ ย่อมทำแต่สิ่งที่ไม่ดี ด้วยอำนาจปาณาติบาตเป็นต้น. บทมีอาทิว่า ปณฺฑิตลกฺขณานิ พึงทราบตามทำนองลักษณะที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ส่วนบททั้งหลายมีบทว่า สุจินฺติตจินฺตี เป็นต้น ในสูตรนี้ พึงประกอบด้วยอำนาจแห่งสุจริตทั้งหลาย มีมโนสุจริตเป็นต้น.

จบอรรถกถาจินตสูตรที่ ๓