พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. ขตสูตร ว่าด้วยการบริหารตนแบบพาลและบัณฑิต

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38630
อ่าน  391

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 16

ปฐมปัณณาสก์

พาลวรรคที่ ๑

๙. ขตสูตร

ว่าด้วยการบริหารตนแบบพาลและบัณฑิต


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 16

๙. ขตสูตร

ว่าด้วยการบริหารตนแบบพาลและบัณฑิต

[๔๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นคนพาล ไม่ฉลาด เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันขาด (แก่นสาร) ถูกประหาร (เสียจากคุณธรรม) แล้วอยู่ เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้ติเตียน และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 17

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นบัณฑิต ฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ขาด (แก่นสาร) ไม่ถูกประหาร (จากคุณธรรม) อยู่ เป็นผู้ไม่มีโทษ ผู้รู้ไม่ติเตียน และได้บุญมากด้วย ธรรม ๓ ประการคืออะไรบ้าง คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต บุคคลประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ

จบขตสูตรที่ ๙

อรรถกถาขตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ธรรมฝ่ายขาว ในส่วนเบื้องต้น กำหนดด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ ในส่วนเบื้องสูง ย่อมได้จนถึงอรหัตตมรรค.

ในบทว่า พหุญฺจ ปุญฺํ ปสวติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงบุญที่คละกันไป ทั้งโลกิยะ และโลกุตระ.

จบอรรถกถาขตสูตรที่ ๙