๔. จักกวัตติสูตร ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 35
ปฐมปัณณาสก์
รถการวรรคที่ ๒
๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์
พระเจ้าจักรพรรดิใครขัดขวางไม่ได้ 39
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 35
๔. จักกวัตติสูตร
ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์
[๔๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา ย่อมไม่ยังจักรอันไม่มีพระราชาให้เป็นไป ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม เป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรม เป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ ... ทรงอาศัยธรรมนั่นแล ทรงสักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรมในอันโตชน (๑) ... ในกษัตริย์ ... ในอนุยนต์ (๒) ... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ในชาวนิคมชนบท ... ในสมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ พระเจ้าจักรพรรดิ ... นั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรมในอันโตชน ... ในกษัตริย์ ... ในอนุยนต์ ... ในทหาร ... ในพราหมณคฤหบดี ... ในชาวนิคมชนบท ... ในสมณพราหมณ์ ... ในเนื้อและนกทั้งหลายแล้ว ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมนั้นเทียว จักรนั้นจึงเป็นจักรอันข้าศึกผู้เป็นมนุษย์ไรๆ ให้เป็นไปตอบไม่ได้ (คือต้านทานคัดค้านไม่ได้)
ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะ ...
(๑) คนในครัวเรือน คือ ในราชสำนัก
(๒) ราชบริพาร
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 36
เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ด้วยโอวาทว่า กายกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ กายกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ... ในวจีกรรม ด้วยโอวาทว่า วจีกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ วจีกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ... ในมโนกรรม ด้วยโอวาทว่า มโนกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ มโนกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชานั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ ... เคารพ ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ... ในวจีกรรม ... ในมโนกรรมแล้ว ทรงยังพระธรรมจักรอย่างยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว พระธรรมจักรนั้นจึงเป็นจักรอันสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปตอบไม่ได้.
จบจักกวัตติสูตรที่ ๔
อรรถกถาจักกวัตติสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในจักกวัตติสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-
ความหมายของคำว่า ราชา
ที่ชื่อว่า ราชา เพราะหมายความว่า ทำให้ประชาชนรักด้วยสังคหวัตถุ ๔. ที่ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะหมายความว่า ทำจักรให้หมุนไป. ที่ชื่อว่า ธัมมิกะ เพราะหมายความว่า มีธรรม. ที่ชื่อว่า ธรรมราชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 37
เพราะหมายความว่า ทรงเป็นพระราชาด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยจักรพรรดิวัตร ๑๐ ประการ. บทว่า โสปิ น อราชกํ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เมื่อไม่ได้พระราชาอื่นเป็นที่อาศัย (๑) ก็ไม่ทรงสามารถจะปล่อยจักรไปได้.
พระศาสดาทรงเริ่มเทศนาไว้อย่างนี้แล้ว ได้ทรงนิ่งเสีย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะพระองค์ทรงดำริว่า ภิกษุทั้งหลายผู้ฉลาดในอนุสนธิ จักลุกขึ้นถามอนุสนธิ เนื่องจากว่า ในที่นี้มีภิกษุทำนองนั้นอยู่มาก ครั้นแล้ว เราตถาคตอันภิกษุเหล่านั้นถามแล้ว จึงจักขยายเทศนา. ทันใดนั้น ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิรูปหนึ่ง เมื่อจะทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำว่า โก ปน ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพยากรณ์แก่ภิกษุนั้น จึงตรัสคำว่า ธมฺโม ภิกขุ ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. บทว่า ธมฺมํ ได้แก่ ธรรมมีประการดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า นิสฺสาย ได้แก่ ทำธรรมนั้นแลให้เป็นที่อาศัยด้วยใจ ซึ่งเป็นที่ตั้งของธรรมนั้น. บทว่า ธมฺมํ สกฺกโรนฺโต ความว่า ธรรมที่ตนสักการะแล้วนั่นแล ย่อมเป็นอันทำด้วยดีด้วยประการใด ก็กระทำโดยประการนั้นทีเดียว. บทว่า ธมฺมํ ครุกโรนฺโต ความว่า เคารพธรรมนั้นด้วยการเกิดความเคารพในธรรมนั้น. บทว่า ธมฺมํ อปจายมาโน ความว่า ทำความอ่อนน้อมถ่อมตนด้วยสามีจิกรรม มีการประคองอัญชลีเป็นต้น แก่ธรรมนั้นนั่นแล.
บทว่า ธมฺมทฺธโช ธมฺมเกตุ ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นธงชัย และชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นตรา เพราะทำธรรมนั้นไว้ข้างหน้า เหมือนนักรบยกธงไว้ข้างหน้า และยกธรรมนั้นขึ้น เหมือนนักรบยกทวนขึ้นเป็นไป. บทว่า ธมฺมาธิปเตยฺโย ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้มีธรรมเป็นใหญ่ เพราะความ
(๑) ปาฐะว่า นิสฺสาย ราชานํ ลภิตฺวา ฉบับพม่าเป็น นิสฺสยราชานํ อลภิตฺวา แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 38
เป็นผู้มีธรรมเป็นอธิบดี และเพราะทำกิริยาทั้งปวง (ราชกิจทุกอย่าง) ด้วยอำนาจธรรมนั่นแล. ในบทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ สํวิทหติ พึงทราบอธิบายว่า การรักษาเป็นต้น ชื่อว่าประกอบด้วยธรรม เพราะหมายความว่า มีธรรม. การรักษา การป้องกัน และการคุ้มครอง ชื่อว่า รักขาวรณคุตติ. บรรดาการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองเหล่านั้น คุณธรรมมีขันติเป็นต้น ชื่อว่า การรักษา ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า บุคคลเมื่อรักษาคนอื่น ชื่อว่ารักษาตน. สมจริงดังพระพุทธดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลรักษาคนอื่นด้วยวิธีอย่างไร จึงชื่อว่ารักษาตน บุคคลรักษาคนอื่นด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยเมตตาจิต (และ) ด้วยความเป็นผู้มีความเอ็นดู จึงชื่อว่ารักษาตนด้วย ดังนี้. การป้องกันสมบัติ มีผ้านุ่ง ผ้าห่ม และเรือนเป็นต้น ชื่อว่า อาวรณะ. การคุ้มครองเพื่อป้องกันอุปัทวันตรายจากโจรเป็นต้น ชื่อว่า คุตติ. อธิบายว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรงจัด คือ ทรงวางการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่ชอบธรรมนั้นทั้งหมดด้วยดี.
ผู้ที่ต้องจัดอารักขาให้
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงบุคคลที่จะต้องจัดการรักษา ป้องกัน และคุ้มครอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า อนฺโตชนสฺมึ ดังนี้เป็นต้น. ในบทว่า อนฺโตชนสฺมึ เป็นต้นนั้น มีความย่อดังต่อไปนี้
พระเจ้าจักรพรรดิทรงให้พระราชโอรสและพระมเหสี ที่เรียกว่า คนภายใน ดำรงอยู่ในศีลสังวร พระราชทานผ้า ของหอม และพวงมาลา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 39
เป็นต้น แก่พระราชโอรสและพระมเหสี พร้อมทั้งป้องกันอุปัทวันตรายทั้งปวงให้แก่พระราชโอรสและพระมเหสีนั้น ชื่อว่าจัดแจงการรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่เป็นธรรมให้. แม้ในกษัตริย์เป็นต้น ก็มีนัย (ความหมายอย่างเดียวกัน) นี้แล. ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้.
กษัตริย์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว พระเจ้าจักรพรรดิก็ต้องทรงอุปเคราะห์ แม้ด้วยการพระราชทานรัตนะ มีม้าอาชาไนยตัวที่มีลักษณะดีเป็นต้นให้. กษัตริย์ที่ตามเสด็จ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องให้พอพระทัยแม้ด้วยการพระราชทานยานพาหนะที่คู่ควรให้. พลนิกาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์ แม้ด้วยการพระราชทานอาหาร บำเหน็จให้ โดยไม่ให้ล่วงเวลา.
พราหมณ์ทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องอนุเคราะห์ด้วยไทยธรรม มีข้าว น้ำ และผ้าเป็นต้น. คฤหบดีทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงอนุเคราะห์ด้วยการพระราชทานภัตร พืช ไถ และโคพลิพัทเป็นต้นให้. ประชาชนผู้อยู่ในนิคม ชื่อว่า เนคมะ ประชาชนที่อยู่ในชนบท ชื่อว่า ชานปทะ ประชาชนเหล่านั้นทั้งหมด ก็เหมือนกัน คือ พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงอนุเคราะห์ด้วย.
ส่วนสมณพราหมณ์ผู้มีบาปอันสงบแล้ว ลอยบาปได้แล้ว พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทรงสักการะ ด้วยการพระราชทานสมณบริขารให้. เนื้อและนก พระเจ้าจักรพรรดิ ก็ต้องทำให้ปลอดโปร่งใจด้วยการพระราชทานอภัยให้.
พระเจ้าจักรพรรดิใครขัดขวางไม่ได้
บทว่า ธมฺเมเนว จกฺกํ วตฺเตติ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรงหมุนจักรให้เป็นไปโดยธรรม คือ กุศลกรรมบถ ๑๐ นั่นเอง. บทว่า ตํ โหติ จกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ ความว่า จักร คือ อาญาสิทธิ์นั้น คือ ที่พระเจ้า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 40
จักรพรรดินั้นให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น เป็นของอันมนุษย์คนไหนให้หมุนกลับไม่ได้. บทว่า เกนจิ มนุสฺสภูเตน ความว่า ธรรมดาเทวดาทั้งหลายย่อมทำสิ่งที่คนปรารถนาๆ ได้สำเร็จสมปรารถนา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มนุสฺสภูเตน ดังนี้ โดยไม่ทรงรวมถึงเทวดาเหล่านั้นด้วย. บทว่า ปจฺจตฺถิเกน ได้แก่ ข้าศึก อธิบายว่า เป็นศัตรูเฉพาะหน้า.
บทว่า ธมฺมิโก ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิทรงเป็นธัมมิกะด้วยอำนาจกุศลธรรมบถ ๑๐ ส่วนพระตถาคตทรงเป็นธัมมิกะด้วยอำนาจโลกุตรธรรม ๙. บทว่า ธมฺมราชา ความว่า พระตถาคตชื่อว่าเป็นธรรมราชาเพราะหมายความว่า ทำมหาชนให้ยินดี ด้วยโลกุตรธรรม ๙. บทว่า ธมฺมํเยว ความว่า พระตถาคตทรงอาศัยโลกุตรธรรม ๙ นั่นแล สักการะธรรมนั้น เคารพธรรมนั้น นอบน้อมธรรมนั้น. ธรรมของพระตถาคตนั้นแลชื่อว่าเป็นธงชัย เพราะหมายความว่า อยู่สูง เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้นจึงชื่อว่ามีธรรมเป็นธงชัย. ธรรมนั้นแลของพระตถาคตนั้น เป็นตรา เพราะเหตุนั้น พระตถาคตนั้นจึงชื่อว่ามีธรรมเป็นตรา. พระตถาคตชื่อว่า ธัมมาธิปเตยยะ เพราะหมายความว่า ทรงทำธรรมให้เป็นอธิบดี คือ ให้เป็นใหญ่อยู่. บทว่า ธมฺมิกํ รกฺขาวรณคุตฺตึ ความว่า การรักษา การป้องกัน และการคุ้มครองที่ให้ โลกิยธรรม และ โลกุตรธรรม. บทว่า สํวิทหติ ได้แก่ ทรงวาง คือ ทรงบัญญัติ. บทว่า เอวรูปํ ความว่า บุคคลไม่ควรเสพทุจริต ๓ อย่าง แต่ควรเสพสุจริต (๑) . ในทุกบท ก็พึงทราบอรรถาธิบายอย่างนี้.
บทว่า สํวิทหิตฺวา ได้แก่ ทรงวางไว้ คือ ตรัสบอก. บทว่า ธมฺเมเนว อนุตฺตรํ ธมฺมจกฺกํ ปวตฺเตติ ความว่า พระตถาคตทรงหมุน
(๑) ปาฐะว่า อจฺจนฺตํ น เสวิตพฺพํ ฉบับพม่าเป็น สฺจริตํ เสวิตพฺพํ แปลตามฉบับพม่า
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 41
ธรรมจักรที่ไม่มีจักรใดเสมอเหมือน ให้เป็นไปโดยโลกุตรธรรม ๙ นั่นแล. บทว่า ตํ โหติ จกฺกํ อปฺปฏิวตฺติยํ ความว่า จักรคือธรรมนั้น ที่พระตถาคตเจ้าให้หมุนไปแล้วอย่างนั้น อันใครๆ แม้สักคนหนึ่งในบรรดาบุคคลเหล่านี้ มีสมณะเป็นต้น ไม่สามารถจะให้หมุนกลับคือขัดขวางได้. บทที่เหลือในที่ทุกแห่ง ง่ายทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาจักกวัตติสูตรที่ ๔