พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ศีลสูตร ว่าด้วยบ่อเกิดของบุญ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  20 ต.ค. 2564
หมายเลข  38668
อ่าน  400

[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 203

ปฐมปัณณาสก์

จูฬวรรคที่ ๕

๖. ศีลสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นบ่อเกิดของบุญ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 203

๖. ศีลสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นบ่อเกิดของบุญ

[๔๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนโนหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมากด้วยสถาน ๓ สถาน ๓ คืออะไร คือ ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ บรรพชิตผู้มีศีล เข้าอาศัยหมู่บ้านหรือตำบลใดอยู่ คนในหมู่บ้านหรือตำบลนั้น ย่อมได้บุญมากด้วยสถาน ๓ นี้แล.

จบศีลสูตรที่ ๖

อรรถกถาศีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในศีลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตีหิ าเนหิ ความว่า ด้วยเหตุ ๓ อย่าง. ในบทว่า กาเยน เป็นต้น มีอธิบายว่า คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายเดินมา จะทำการต้อนรับ เมื่อไปก็ตามส่ง กระทำการนวดและชโลม (ด้วยน้ำมัน) เป็นต้น ปูอาสนะไว้บนอาสนศาลา ตั้งน้ำดื่มไว้ ชื่อว่า ย่อมได้บุญด้วยกาย.

คนทั้งหลายเห็นภิกษุสงฆ์กำลังเดินบิณฑบาต เมื่อกล่าวคำเป็นต้นว่า ท่านทั้งหลายจงถวายข้าวยาคู ข้าวสวย เนยใสและเนยข้นเป็นต้น จงบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น จงรักษาอุโบสถ จงฟังธรรม และจงไหว้พระเจดีย์เถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยวาจา.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 27 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 204

คนทั้งหลายเห็นภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาต เมื่อคิดว่า ขอให้ชาวบ้านจงถวายทานเถิด ดังนี้ ชื่อว่า ได้บุญด้วยใจ.

บทว่า ปสวนฺติ แปลว่า ได้เฉพาะ. ก็ในพระสูตรนี้ พระองค์ตรัสบุญที่เจือด้วยโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถาศีลสูตรที่ ๖