๑๐. สังคารวสูตร ว่าด้วยบุญปฏิปทาที่มีผลมาก
[เล่มที่ 34] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 252
ทุติยปัณณาสก์
พราหมณวรรคที่ ๑
๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยบุญปฏิปทาที่มีผลมาก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 34]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 252
๑๐. สังคารวสูตร
ว่าด้วยบุญปฏิปทาที่มีผลมาก
[๕๐๐] ครั้งนั้นแล สังคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ชื่อว่าพราหมณ์ ย่อมบูชายัญเองบ้าง ให้คนอื่นบูชาบ้าง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น ผู้ที่บูชา
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 253
ยัญเองและผู้ที่ใช้ให้คนอื่นบูชา ทุกคนชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญอันมียัญเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก อนึ่ง ผู้ใดออกจากสกุลใด บวชเป็นบรรพชิตฝึกแต่คนเดียว ทำตนให้สงบแต่คนเดียว ทำตนให้ดับไปแต่คนเดียว เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นั้นชื่อว่ามีปฏิปทาเป็นเหตุให้เกิดบุญ อันมีบรรพชาเป็นเหตุ ซึ่งมีกำเนิดแต่สรีระอันเดียว.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ถ้ากระนั้นเราจักขอถามท่านในข้อนี้ ท่านจงเฉลยปัญหานั้นตามที่ท่านเห็นควร ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ตรัสไว้อย่างนี้ว่า เราดำเนินไปแล้วตามมรรคนี้ ตามปฏิปทานี้ ทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว สอนประชาชนให้รู้ตาม มาเถิด ถึงท่านทั้งหลายก็จงปฏิบัติตามอาการที่ท่านทั้งหลายปฏิบัติได้แล้ว ก็จักทำธรรมอันยอดเยี่ยมซึ่งเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งของตนแล้วเข้าถึงอยู่ พระศาสดาพระองค์นี้ทรงแสดงธรรมไว้ดังนี้ ทั้งผู้อื่นต่างปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ก็ผู้แสดงและผู้ปฏิบัตินั้น มีมากกว่าร้อย มีมากกว่าพัน มีมากกว่าแสน ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ บุญปฏิปทาซึ่งมีบรรพชาเป็นเหตุนั้น ย่อมจะมีกำเนิดแต่สรีระเดียว หรือมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นดังตรัสมาฉะนี้ บุญปฏิปทาที่มีบรรพชาเป็นเหตุนี้ ย่อมมีกำเนิดแต่สรีระเป็นอันมาก.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 254
เมื่อสังคารวพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ถามสังคารวพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบใจปฏิปทาอย่างไหนซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย เมื่อท่านพระอานนท์ถามอย่างนี้ สังคารวพราหมณ์ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระอานนท์ได้ถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควรบูชาใคร หรือว่าท่านควรสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๒ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรามิได้ถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านควรบูชาใคร ท่านควรสรรเสริญใคร แต่เราถามท่านอย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปฏิปทา ๒ อย่างนี้ ท่านชอบปฏิปทาอย่างไหน ซึ่งมีความต้องการน้อยกว่า มีความริเริ่มน้อยกว่า แต่ว่ามีผลและอานิสงส์มากมาย ถึงครั้งที่ ๓ สังคารวพราหมณ์ก็ได้กล่าวว่า ท่านพระโคดมฉันใด ท่านพระอานนท์ก็ฉันนั้น ท่านทั้ง ๒ นี้ เราควรบูชา เราควรสรรเสริญ.
ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดำริว่า สังคารวพราหมณ์ถูกอานนท์ถามปัญหาที่ชอบแล้ว นิ่งเสีย ไม่เฉลยถึง ๓ ครั้งแล ถ้ากระไรเราควรจะช่วยเหลือ จึงได้ตรัสถามสังคารวพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ วันนี้ พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่าอย่างไร สังคารวพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 255
พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่า เขาว่าเมื่อก่อนภิกษุที่แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้มีน้อยมาก และอุตริมนุษยธรรมมีมากมาย ทุกวันนี้ ภิกษุที่แสดงปาฏิหาริย์ได้มีมากมาย และอุตริมนุษยธรรมมีน้อยมาก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ทุกวันนี้พวกที่มานั่งประชุมกันในราชบริษัทในราชสำนัก ได้พูดสนทนากันขึ้นในระหว่างว่าดังนี้แล.
ว่าด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่าง
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ดักใจเป็นอัศจรรย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนเป็นอัศจรรย์ ๑ ดูก่อนพราหมณ์ ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อิทธิปาฏิหาริย์.
ดูก่อนพราหมณ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจได้โดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ก็แต่ว่า พอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 256
จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้เลย แต่ว่าพอได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ย่อมพูดดักใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ถึงได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ ก็แต่ว่า กำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็จริง คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อาเทสนาปาฏิหาริย์.
ดูก่อนพราหมณ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ดูก่อนพราหมณ์ นี้เรียกว่า อนุสาสนีปาฏิหาริย์.
ดูก่อนพราหมณ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้แล ดูก่อนพราหมณ์ บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ท่านชอบปาฏิหาริย์อย่างไหนซึ่งดีกว่าและประณีตกว่า.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนั้น ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 257
ดังนี้นั้น ผู้ใดแสดงอิทธิปาฏิหาริย์นี้ได้ แสดงฤทธิ์เป็นอันมาก ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้และเป็นของผู้นั้นนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับรูปลวง ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พูดดักใจ ได้ยินโดยนิมิตว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้บ้าง ใจของท่านเป็นเช่นนี้บ้าง จิตของท่านเป็นด้วยประการฉะนี้บ้าง ถึงเธอจะพูดดักใจกะชนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไม่ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พูดดักใจโดยนิมิตไม่ได้เลย ... แต่ว่าพอได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ ... แม้ว่าได้ยินเสียงมนุษย์ อมนุษย์ หรือเทวดาเข้าแล้ว พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่าได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจได้ ... ถึงได้ยินเสียงวิตกวิจารของบุคคลผู้ตรึกตรองเข้าแล้ว ก็พูดดักใจไม่ได้ แต่ว่ากำหนดรู้ใจของผู้อื่นที่เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น ถึงหากเธอจะพูดดักใจกะคนเป็นอันมากก็ดี คำที่เธอพูดนั้นก็เป็นเช่นนั้น หาเป็นอย่างอื่นไปไม่ ผู้ใดแสดงปาฏิหาริย์นี้ได้ ผู้นั้นย่อมชอบใจปาฏิหาริย์นั้น ปาฏิหาริย์ที่ผู้ใดแสดงได้และเป็นของผู้นั้นนี้ย่อมปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนกับรูปลวง ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บรรดาปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ อย่างนี้ ปาฏิหาริย์ที่ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้พร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่าได้มนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่ ควรแก่ข้าพระองค์ ทั้งดีกว่าและประณีตกว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ที่ท่านพระโคดมตรัสดีแล้ว และข้าพระองค์จะจำไว้ว่า ท่านพระโคดมประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เพราะท่านพระโคดมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 258
ท่านพระโคดมกำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของพระองค์ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะท่านพระโคดมทรงพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าได้ตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านได้กล่าววาจาที่ควรนำไปใกล้เราแน่แท้เทียวแล เออก็เราจักพยากรณ์แก่ท่านว่า เพราะเราแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเรากำหนดรู้ใจของผู้ที่เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกวิจารด้วยใจของตนว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโนสังขารไว้ด้วยประการใด จักตรึกวิตกชื่อโน้นในลำดับจิตนี้ด้วยประการนั้น เพราะเราพร่ำสอนอยู่อย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนี้ จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนี้ จงละสิ่งนี้เสีย จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็แม้ภิกษุอื่นรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ นอกจากท่านพระโคดม มีอยู่หรือ.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ ไม่ใช่มีร้อยเดียว ไม่ใช่สองร้อย ไม่ใช่สามร้อย ไม่ใช่สี่ร้อย ไม่ใช่ห้าร้อย ที่แท้ภิกษุผู้ประกอบด้วยปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ มีอยู่มากมายทีเดียว.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็บัดนี้ภิกษุเหล่านั้นอยู่ไหน.
พ. ดูก่อนพราหมณ์ อยู่ในหมู่ภิกษุนี้เองแหละ.
สัง. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 259
แก่ผู้หลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า คนมีจักษุจักมองเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม กับทั้งพระธรรม และพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบสังคารวสูตรที่ ๑๐
จบพราหมณวรรคที่ ๓
อรรถกถาสังคารวสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในสังคารวสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สงฺคารโว ได้แก่ พราหมณ์ผู้ดูแล ผู้ทำการปฏิสังขรณ์ของเก่าในกรุงราชคฤห์ มีชื่ออย่างนี้. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า พราหมณ์รับประทานอาหารเช้าแล้ว มีมหาชนห้อมล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อสฺสุ ในคำว่า มยมสฺสุ นี้ เป็นเพียงนิบาต คือ เป็นบทแสดงความนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ชื่อว่าพราหมณ์.
บทว่า ยญฺํ ยชาม ความว่า ขึ้นชื่อว่ายัญ ประกอบไปด้วยการฆ่าสัตว์อย่างนี้ ชุดละ ๔ ตัว ชุดละ ๘ ตัว ชุดละ ๑๖ ตัว ชุดละ ๓๒ ตัว ชุดละ ๖๔ ตัว ชุดละ ๑๐๐ ตัว และชุดละ ๕๐๐ ตัว มีอยู่ในลัทธิภายนอก (พระพุทธศาสนา). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอายัญนั้นนั่นแหละ. บทว่า อเนกสารีริกํ ได้แก่ เนื่องด้วยคนมาก. บทว่า ยทิทํ เท่ากับ ยา เอสา แปลว่า นี้ใด. บทว่า ยญฺาธิกรณํ ความว่า มีการบูชายัญเป็นเหตุ และ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 260
มีการให้ผู้อื่นบูชาเป็นเหตุ ความจริง บุญปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเนื่องด้วยบุญ) ในไทยธรรมอย่างเดียวที่บุคคลให้เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นให้ก็ดี แก่คนจำนวนมาก ถึงในไทยธรรมมากอย่างที่บุคคลให้เองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นให้ก็ดี แก่คนจำนวนมาก ชื่อว่าเป็นปฏิปทาเนื่องด้วยคนมาก. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาบุญปฏิปทานั้น. และบุญปฏิปทาของผู้กล่าวอยู่ว่า เราบูชาท่าน เราบูชาท่าน ดังนี้ก็ดี ผู้บังคับผู้อื่นว่า ท่านจงบูชา ท่านจงบูชา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่าเป็นปฏิปทาเนื่องด้วยคนหมู่มากเหมือนกัน. คำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอาบุญปฏิปทาแม้นั้น.
บทว่า ยสฺส วา ตสฺส วา เท่ากับ ยสฺมา วา ตสฺมา วา แปลว่า จากตระกูลใดๆ ก็ตาม. บทว่า เอกมตฺตานํ ทเมติ ความว่า ฝึกตนคนเดียว ด้วยสามารถแห่งการฝึกอินทรีย์ของตน. บทว่า เอกมตฺตานํ สเมติ ความว่า สงบตนคนเดียวนั่นแหละ ด้วยการสงบราคะเป็นต้นของตน. บทว่า ปรินิพฺพาเปติ ความว่า ปรินิพพานด้วยการดับสนิทซึ่งราคะเป็นต้นนั่นแหละ. บทว่า เอวมสฺสายํ ความว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เรื่องการบรรพชานี้ ก็เท่ากับบุญปฏิปทานี้.
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพราหมณ์อย่างนี้แล้ว ทรงดำริว่า พราหมณ์นี้กล่าวถึงมหายัญที่ประกอบด้วยการฆ่าสัตว์ว่า เป็นบุญปฏิปทาที่เนื่องด้วยคนหมู่มาก แต่กล่าวถึงปฏิปทาที่เป็นเหตุให้เกิดบุญมีบรรพชาเป็นพื้นฐานว่า เป็นบุญปฏิปทาเนื่องด้วยคนๆ เดียว พราหมณ์นี้ไม่รู้จักปฏิปทาที่เนื่องด้วยคนๆ เดียวเลย ไม่รู้จักปฏิปทาที่เนื่องด้วยคนจำนวนมากด้วย เอาเถิด เราจักแสดงปฏิปทาที่เนื่องด้วยคนๆ เดียว ทั้งที่เนื่องด้วยคนจำนวนมากแก่เขา ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงขยายพระธรรมเทศนาออกไปอีก จึงตรัสคำ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 261
มีอาทิว่า เตนหิ พฺราหฺมณ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถา เต ขเมยฺย ความว่า ท่านชอบใจอย่างไร. บทว่า อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ ได้ให้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.
บทว่า เอถายํ (๑) มคฺโค ความว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย เราตถาคตจักพร่ำสอน นี้เป็นทาง. บทว่า อยํ ปฏิปทา นี้ เป็นไวพจน์ของ มคฺโค นั้น. บทว่า ยถา ปฏิปนฺโน ความว่า ดำเนินไปแล้วโดยมรรคใด. บทว่า อนุตฺตรํ พฺรหฺมจริโยคธํ ความว่า ธรรมอันถึงที่สุด ไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า คือ พระนิพพาน อันเป็นที่พึ่งสูงสุดของพรหมจรรย์ กล่าวคือ อรหัตตมรรค. บทว่า อิจฺจายํ ตัดบทเป็น อิติ อยํ.
บทว่า อปฺปตฺถตรา ความว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่ต้องการความช่วยเหลือ หรือไม่ต้องการอุปกรณ์จำนวนมาก. บทว่า อปฺปสมารมฺภตรา ความว่า เป็นปฏิปทาที่ไม่มีการแข่งดี กล่าวคือ การกดโดยตัดรอนกรรม (ความดี) ของคนเป็นอันมาก.
บทว่า เสยฺยถาปิ ภวํ โคตโม ภวญฺจ อานนฺโท เอเต เม ปุชฺชา ความว่า พราหมณ์กล่าวคำนั้น หมายถึงความข้อนี้ว่า บุคคลเช่นพระโคดมผู้เจริญ และพระอานนท์ผู้เจริญ เป็นผู้อันข้าพเจ้าบูชาแล้ว ได้แก่ พวกท่านนั่นแหละ คือ ทั้งสองคนเป็นผู้อันข้าพเจ้าบูชาและสรรเสริญ. ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระอานนทเถระต้องการให้เราเท่านั้นตอบปัญหานี้ แต่เมื่อเรากล่าวสรรเสริญคุณของตน ชื่อว่าผู้จะไม่ยินดีไม่มี. เพราะฉะนั้น พราหมณ์เมื่อไม่ประสงค์จะตอบปัญหา จึงกล่าวอย่างนี้ให้เพี้ยนไป ด้วยสามารถแห่งการกล่าวสรรเสริญ. บทว่า น โข ตฺยาหํ ตัดบทเป็น น โข เต อหํ.
(๑) ปาฐะว่า เอตฺถายํ ฉบับพม่าเป็น เอถายํ แปลตามฉบับพม่า.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 262
ได้ยินว่า แม้พระเถระก็คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่ประสงค์จะตอบปัญหา จึงเสความ เราจักให้พราหมณ์นี้ตอบปัญหานี้ให้จงได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้กะพราหมณ์นั้น. บทว่า สหธมฺมิกํ แปลว่า มีเหตุ. บทว่า สํสาเทํติ แปลว่า ขยาด. บทว่า โน วิสชฺเชติ แปลว่า จะไม่ตอบ.
บทว่า ยนฺนูนาหํ ปริโมจยํ ความว่า อย่ากระนั้นเลย เราจะปลดเปลื้องคนทั้งสองให้พ้นจากความลำบากใจ. เพราะว่าพราหมณ์เมื่อไม่ตอบปัญหาที่พระอานนท์ถาม ย่อมลำบากใจ ฝ่ายพระอานนท์เมื่อจะให้พราหมณ์ผู้ไม่ยอมตอบ ตอบให้ได้ ก็ลำบากใจ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เราจักปลดเปลื้องคนทั้งสองนี้จากความลำบากใจ จึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กานฺวชฺช ตัดบทเป็น กา นุ อชฺช. บทว่า อนฺตรากถา อุทปาทิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ในระหว่างที่สนทนากันถึงเรื่องอื่น มีเรื่องอะไรเกิดขึ้นบ้าง. พระศาสดาตรัสอย่างนี้โดยมีพุทธประสงค์ว่า ได้ยินว่า ครั้งนั้นในพระราชวังมีกถาปรารภปาฏิหาริย์ ๓ เกิดขึ้น เราจะถามความข้อนั้น.
ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า บัดนี้เราสามารถจะพูดได้ เมื่อจะกราบทูลข้อความที่เกิดขึ้นในพระราชวัง จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อยํ ขฺวชฺช โภ โคตม ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ขฺวชฺช ตัดบทเป็น อยํ โข อชฺช. บทว่า สุทํ ในคำว่า ปุพฺเพ สุทํ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา ได้แก่ มนุษยธรรมชั้นสูง กล่าวคือ กุศลกรรมบถ ๑๐. ด้วยบทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ทสฺเสสุํ พราหมณ์กล่าวหมายเอาการเหาะขึ้นไปบนอากาศที่เป็นไปแล้วในสมัยก่อนอย่างนี้ คือ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไป
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 263
ภิกษาจาร ทั้งไปทั้งกลับ จะเหาะไปโดยทางอากาศทั้งนั้น. ด้วยบทว่า เอตรหิ ปน พหุตรา จ ภิกฺขุ นี้ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ตามลัทธิว่า เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายชะรอยจะคิดว่า พวกเราจักยังปัจจัย ๔ ให้เกิดขึ้น จึงกระทำอย่างนี้ แต่บัดนี้ รู้ว่าปัจจัยเกิดขึ้นแล้ว จึงปล่อยเวลาให้ล่วงไปด้วยโมหะ และความประมาท.
บทว่า ปาฏิหาริยานิ ได้แก่ ปาฏิหาริย์ โดยมุ่งขจัดลัทธิที่เป็นปฏิปักษ์. บทว่า อิทฺธิปาฏิหาริยํ ความว่า ปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจการแสดงฤทธิ์ ชื่อว่าอิทธิปาฏิหาริย์. แม้ในปาฏิหาริย์นอกนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. อรรถาธิบาย วิชชา ๘ ประการ มีอิทธิวิธิต่างๆ วิธีก็ดี นัยแห่งการเจริญ (วิชชา ๘ ประการนั้น) ก็ดี ได้ให้พิสดารในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล้วทีเดียว. บทว่า นิมิตฺเตน อาทิสติ ความว่า ทำนายว่า ชื่อว่าสิ่งนี้จักมีโดยนิมิตที่ผ่านมาแล้ว โดยนิมิตที่ผ่านไปแล้ว หรือโดยนิมิตที่ยังคงอยู่. ในข้อนี้ มีเรื่องดังต่อไปนี้
เล่ากันมาว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงกำแก้วมุกดา ๓ ดวงไว้ แล้วตรัสถามปุโรหิตว่า ท่านอาจารย์ อะไรอยู่ในมือของเรา. ปุโรหิตตรวจดูข้างโน้น ข้างนี้ และเวลานั้นมีตุ๊กแกตัวหนึ่ง วิ่งไปโดยตั้งใจว่าจักจับแมลงวัน ในเวลาจับ แมลงวันหนีไปได้. เขาจึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แก้วมุกดา พระเจ้าข้า เพราะความที่ (ถือนิมิต) แมลงวันหนีรอดไปได้. พระราชาตรัสถามต่อไปว่า ถูกละ แก้วมุกดา แต่ว่ามีกี่ดวง. ปุโรหิตตรวจดูนิมิตอีก เวลานั้นไก่ขันขึ้น ๓ ครั้ง ในที่ไม่ไกล. พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มี ๓ ดวง พระเจ้าข้า. บางคนทำนายนิมิตที่ผ่านมาแล้ว ดังพรรณมานี้. แม้โดยนิมิตที่ผ่านไปแล้ว และยังคงอยู่ ก็พึงทราบการทำนายโดยอุบายนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 264
บทว่า เอวมฺปิ เต มโน ความว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ คือ อาศัยโสมนัส อาศัยโทมนัส หรือประกอบด้วยกามวิตกเป็นต้น. คำที่ ๒ (อิตฺถมฺปิ เต มโน) เป็นไวพจน์ของคำว่า เอวมฺปิ เต มโน นั้นนั่นเอง. บทว่า อิติปิ เต จิตฺตํ ความว่า จิตของท่านเป็นไปด้วยประการนี้ อธิบายว่า ท่านกำลังคิดถึงความข้อนี้ และข้อนี้อยู่ จิตเป็นไปแล้ว. บทว่า พหุญฺเจปิ อาทิสติ ความว่า หากเขาจะพยากรณ์แม้มากไซร้. บทว่า ตเถว ตํ โหติ ความว่า (เรื่องต่างๆ) จะเป็นเหมือนที่ทำนายไว้นั่นแหละ. บทว่า อมนุสฺสานํ ได้แก่ อมนุษย์ มียักษ์และปีศาจเป็นต้น. บทว่า เทวตานํ ได้แก่ เทวดาทั้งหลาย มีเทวดาชั้นจาตุมหาราชเป็นต้น. บทว่า สทฺทํ สุตฺวา ความว่า ได้ยินเสียงของเขาผู้กำลังกล่าวอยู่จึงทำนาย เพราะรู้จิตของผู้อื่น. บทว่า วิตกฺกวิจารสทฺทํ ความว่า เสียงของคนที่หลับและประมาทเป็นต้น ละเมอถึงสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งวิตกและวิจาร. บทว่า สุตฺวา ได้แก่ ได้ยินเสียงนั้น. อธิบายว่า ทำนายเสียงที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจอารมณ์ที่เธอกำลังตรึกนั้นว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้
เล่ากันว่า ชายผู้หนึ่งคิดว่า เราจะไปแก้คดี ออกจากบ้านไปสู่นคร นับแต่ที่ที่ออกเดินทางไป ก็ครุ่นคิดอยู่ว่า ในศาล เราจักทำสิ่งนี้ จักพูดคำนี้แด่พระราชา ราชมหาอมาตย์ ได้เป็นเสมือนว่าไปสู่ราชสกุลแล้ว เหมือนกับได้ยืนต่อพระพักตร์ของพระราชาแล้ว และเหมือนกับกำลังให้การอยู่กับผู้พิพากษา. บุรุษผู้หนึ่งได้ยินเสียงนั้นของเขาที่เปล่งออกไปด้วยสามารถแห่งวิตกและวิจาร จึงถามว่า ท่านจะไปด้วยเรื่องอะไร. เขาตอบว่า จะไปแก้คดี. บุรุษนั้นจึงพูดว่า ไปเถิด ท่านจะมีชัยชนะ. เขาไปแก้คดีแล้ว ประสบชัยชนะ.
แม้พระเถระชาวโปลิยคามอีกรูปหนึ่ง ได้เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน. ขณะนั้น เด็กหญิงคนหนึ่งส่งใจไปที่อื่น จึงไม่เห็นท่านผู้เดินออกไป. ท่านยืนอยู่
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 265
ที่ประตูบ้าน แล้วกลับออกไป มองดู เห็นเด็กหญิงนั้นแล้ว ได้เดินตรึกไป และเมื่อเดินไปก็ได้กล่าวว่า แม่หนูทำอะไรอยู่หรือ จึงไม่เห็นเรา. ชายคนหนึ่งยืนอยู่ข้างๆ ได้ยินแล้วก็พูดขึ้นว่า ท่านผู้เจริญ นิมนต์ท่านไปบ้านโปลิยคามเถิด.
บทว่า มโนสงฺขารา ปณิหิตา ความว่า จิตสังขารที่ตั้งไว้ดีแล้ว. บทว่า วิตกฺเกสฺสติ ความว่า รู้ชัดว่าจักตรึก คือ จักยังจิตให้เป็นไป. ก็เมื่อเธอรู้ชัดอยู่ ชื่อว่าย่อมรู้ชัดโดยนิมิตผ่านมานั่นแหละ. ย่อมรู้โดยนิมิตอันเป็นส่วนเบื้องต้น. ย่อมรู้โดยยกจิตขึ้นภายในสมาบัติ.
ในเวลาบริกรรมกสิณเหล่านั้นแหละ ภิกษุรู้ว่า พระโยคาวจรนี้ปรารภการเจริญกสิณโดยอาการใด จักยังปฐมฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน หรือ สมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นโดยอาการนั้น ชื่อว่า รู้โดยนิมิตผ่านมา.
เมื่อปรารภสมถวิปัสสนาแล้ว ภิกษุรู้อยู่ คือ รู้ว่าพระโยคาวจรนี้ปรารภวิปัสสนาแล้วโดยอาการใด จักยังโสดาปัตติมรรค ฯลฯ หรืออรหัตตมรรคให้เกิดขึ้นโดยอาการนั้น ชื่อว่า รู้นิมิตโดยส่วนเบื้องต้น.
ภิกษุรู้ว่า มโนสังขารของพระโยคาวจรนี้ตั้งไว้ดีแล้ว เธอจะตรึกวิตกชื่อนี้ในลำดับแห่งจิตชื่อนี้โดยอาการใด สมาธิของพระโยคาวจรนี้ผู้ออกจากสมาบัตินี้แล้ว ที่เป็นหานภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งการละ) ที่เป็นฐิติภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งความดำรงอยู่) ที่เป็นวิเสสภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งคุณธรรมพิเศษ) หรือเป็นนิพเพธภาคิยะ (เป็นส่วนแห่งการแทงตลอด) จักมี หรือการทำให้แจ้งด้วยอภิญญาจักเกิดขึ้นแก่เธอโดยอาการนั้น ชื่อว่า รู้โดยตรวจดูจิตในภายในสมาบัติ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 266
บรรดาบทเหล่านั้น ปุถุชนผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของปุถุชนด้วยกัน แต่ไม่รู้จิตของพระอริยเจ้า. ถึงในพระอริยเจ้าทั้งหลาย พระอริยบุคคลชั้นต่ำ ย่อมไม่รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นสูง แต่พระอริยบุคคลชั้นสูง รู้จิตของพระอริยบุคคลชั้นต่ำ. อนึ่ง บรรดาพระอริยเจ้าเหล่านี้ พระโสดาบันเข้าโสดาปัตติผลสมาบัติ พระสกทาคามี ... พระอนาคามี ... พระอรหันต์เข้าอรหัตตผลสมาบัติ. พระอริยบุคคลชั้นสูง จะไม่เข้าสมาบัติชั้นต่ำ. เพราะว่าสมาบัติชั้นต่ำๆ ของพระอริยบุคคลชั้นต่ำเหล่านั้น จะเป็นไปในพระอริยบุคคลชั้นต่ำเหล่านั้น. บทว่า ตเถว ตํ โหติ ความว่า คำทำนายนั้น ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแหละโดยส่วนเดียว เพราะคำพยากรณ์ที่ท่านรู้ด้วยสามารถแห่งเจโตปริยญาณ ชื่อว่าจะเป็นอื่นไปไม่มี (คือ ไม่ผิดพลาด).
บทว่า เอวํ วิตกฺเกถ ความว่า เธอทั้งหลายจงตรึก ให้เนกขัมมวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า มา เอวํ วิตกฺกยิตฺถ ความว่า เธอทั้งหลายอย่าตรึกให้กามวิตกเป็นต้นเป็นไปอย่างนี้. บทว่า เอวํ มนสิกโรถ ความว่า เธอทั้งหลายจงมนสิการถึงอนิจสัญญานั่นแหละ หรือสัญญาอย่างอื่นในบรรดาทุกขสัญญาเป็นต้นอย่างนี้. บทว่า มา เอวํ ความว่า เธอทั้งหลายอย่าใส่ใจโดยนัยเป็นต้นว่า เที่ยง ดังนี้. บทว่า อิทํ ความว่า เธอทั้งหลายจงละความกำหนัดในเบญจกามคุณนี้. บทว่า อิทํ ปน อุปสมฺปชฺช ความว่า (แต่) ท่านทั้งหลายจงเข้าถึง คือ บรรลุโลกุตรธรรม แยกประเภทเป็นมรรค ๔ ผล ๔ นี้นั่นแหละ ได้แก่ ให้สำเร็จแล้วอยู่.
บทว่า มายาสหธมฺมรูปํ วิย ขายติ ความว่า ย่อมปรากฏเป็นเหมือนรูปที่เกิดจากเหตุอันเสมอด้วยมายา. จริงอยู่ นักแสดงกล ย่อมแสดงกลได้หลายแบบอย่างนี้ คือ หยิบน้ำมา ทำให้เป็นน้ำมันก็ได้ หยิบน้ำมันมา ทำให้เป็นน้ำก็ได้ ถึงปาฏิหาริย์นี้ก็เป็นแบบนั้นเหมือนกัน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้า 267
พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ปาฏิหาริย์นี้ ปรากฏแก่ข้าพระองค์เหมือนเล่นกล หมายเอาความที่ปาฏิหาริย์คล้ายกับวิชชาจินดามณีมนต์. เพราะผู้ที่รู้วิชชาจินดามณีมนต์นี้ เห็นคนกำลังเดินมานั่นแหละ ย่อมรู้ว่า คนผู้นี้เดินตรึกเรื่องนี้มา อนึ่ง ย่อมรู้ว่า คนผู้นี้ยืนตรึกเรื่องชื่อนี้ นั่งตรึกเรื่องชื่อนี้ นอนตรึกเรื่องชื่อนี้ ดังนี้.
บทว่า อภิกฺกนฺตตรํ ได้แก่ ดีกว่า. บทว่า ปณีตตรํ ได้แก่ สูงกว่า. ในบทว่า ภวญฺหิ โคตโม อวิตกฺกํ อวิจารํ นี้ พราหมณ์มิได้ถือเอาอาเทสนาปาฏิหาริย์ที่เหลือว่าเป็นลัทธิภายนอก (พระพุทธศาสนา) ก็แล พราหมณ์นั้น เมื่อจะกล่าวสรรเสริญพระตถาคต จึงกล่าวข้อความนี้ทั้งหมด. บทว่า อทฺธา โข ตฺยาหํ ความว่า วาจานี้ ท่านกล่าวถูกต้องแล้วโดยส่วนเดียวแท้. บทว่า อาสชฺช อุปนิยฺย วาจา ภาสิตา ความว่า วาจาที่ท่านกล่าวพาดพิงถึงเรา ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว. บทว่า อปิจ ตฺยาหํ พฺยากริสฺสามิ ความว่า อีกทั้งเราแหละจักพยากรณ์แก่ท่าน. บทที่เหลือมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาสังคารวรสูตรที่ ๑๐
จบพราหมณวรรควรรณนาที่ ๑
รวมพระสูตรที่มีในพราหมวรรคนี้ คือ
๑. ปฐมชนสูตร ๒. ทุติยชนสูตร ๓. พราหมณสูตร ๔. ปริพาชกสูตร ๕. นิพพุตสูตร ๖. ปโลภสูตร ๗. ชัปปสูตร ๘. ติกัณณสูตร ๙. ชานุสโสณีสูตร ๑๐. สังคารวสูตร และอรรถกถา.