พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยคารวสูตร ว่าด้วยฐานะและไม่ใช่ฐานะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39089
อ่าน  402

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 30

ปฐมปัณณาสก์

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๒. ทุติยคารวสูตร

ว่าด้วยฐานะ และไม่ใช่ฐานะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 30

๒. ทุติยคารวสูตร

ว่าด้วยฐานะ และไม่ใช่ฐานะ

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ไม่มีที่เคารพ ไม่มีที่ยำเกรง ไม่มีความประพฤติเสมอ ในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะ ให้บริบูรณ์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 31

ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่บำเพ็ญธรรมของพระเสขะ ให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่รักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุไม่เจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้นั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุมีที่เคารพ มีที่ยำเกรง มีความประพฤติ เสมอในเพื่อนพรหมจรรย์ จักบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุบำเพ็ญธรรมของพระเสขะให้บริบูรณ์แล้ว จักรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุรักษาศีลขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อที่ภิกษุเจริญสมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้นั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

จบทุติยคารวสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยคารวสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยคารวสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีลกฺขนฺธํ ได้แก่ กองศีล. แม้ในสองบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ตรัสขันธ์แม้ ๓ อย่างเหล่านี้ เจือกัน.

จบอรรถกถา ทุติยคารวสูตรที่ ๒