พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุสสีลสูตร ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีลและคุณแห่งความมีศีล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  25 ต.ค. 2564
หมายเลข  39091
อ่าน  450

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 36

ปฐมปัณณาสก์

ปัญจังคิกวรรคที่ ๓

๔. ทุสสีลสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีล และคุณแห่งความมีศีล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 36

๔. ทุสสีลสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งความทุศีล และคุณแห่งความมีศีล

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะ ของภิกษุผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทา และวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อนิพพิทา และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา และวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบวิบัติแล้ว แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้กะพี้ก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ไม่ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้ทุศีล มีศีลวิบัติแล้ว ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อสัมมาสมาธิไม่มี ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีสัมมาสมาธิวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว เมื่อยถาภูตญาณทัสนะไม่มี นิพพิทา และวิราคะของภิกษุ ผู้มียถาภูตญาณทัสนะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 37

เมื่อนิพพิทา และวิราคะไม่มี วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้มีนิพพิทา และวิราคะวิบัติ ย่อมเป็นธรรมมีอุปนิสัยขาดแล้ว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทา และวิราคะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อนิพพิทา และวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทา และวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ที่มีกิ่ง และใบบริบูรณ์ แม้กะเทาะของต้นไม้นั้น ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้เปลือกก็ถึงความบริบูรณ์ แม้กระพี้ก็ถึงความบริบูรณ์ แม้แก่นก็ถึงความบริบูรณ์ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุทั้งหลาย สัมมาสมาธิของภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นธรรม ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยสัมมาสมาธิ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทา และวิราคะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยยถาภูตญาณทัสนะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อนิพพิทา และวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะของภิกษุ ผู้ถึงพร้อมด้วยนิพพิทา และวิราคะ ย่อมเป็นธรรมถึงพร้อมด้วย อุปนิสัย.

จบทุสสีลสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 38

อรรถกถาทุสสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุสสีลสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า หตูปนิโส ได้แก่ ตัดขาดอุปนิสัย คือ กำจัดเหตุ. บทว่า ยถาภูตาณทสฺสนํ ได้แก่ วิปัสสนาอ่อนๆ ตั้งต้นแต่ญาณกำหนดนามรูปไป. บทว่า นิพฺพิทา วิราโค ได้แก่ นิพพิทาความหน่าย และวิราคะสำรอก. ในสองอย่างนั้น นิพพิทาเป็นวิปัสสนามีกำลัง. วิราคะเป็นมรรค. บทว่า วิมุตฺติาณทสฺสนํ ได้แก่ ผลวิมุตติ และปัจจเวกขณญาณ.

จบอรรถกถา ทุสสีลสูตรที่ ๔