พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. มัจฉริยสูตร ว่าด้วยธรรมทําให้ภิกษุณีเหมือนตกนรกและขึ้นสวรรค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39185
อ่าน  392

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 256

ตติยปัณณาสก์

อันธกวินทวรรคที่ ๒

๕. มัจฉริยสูตร

ว่าด้วยธรรมทําให้ภิกษุณีเหมือนตกนรก และขึ้นสวรรค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 256

๕. มัจฉริยสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้ภิกษุณีเหมือนตกนรก และขึ้นสวรรค์

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีเป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ตระหนี่สกุล ๑ ตระหนี่ลาภ ๑ ตระหนี่วรรณะ ๑ ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เหมือนถูกนำมาไว้ในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เหมือนเชิญมาอยู่ในสวรรค์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุณีย่อมไม่เป็นผู้ตระหนี่ที่อยู่ ๑ ไม่ตระหนี่สกุล ๑ ไม่ตระหนี่ลาภ ๑ ไม่ตระหนี่วรรณะ ๑ ไม่ตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล เหมือนเชิญมาอยู่ในสวรรค์.

จบมัจฉริยสูตรที่ ๕

อรรถกถามัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในมัจฉริยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาวาสมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่อาวาส คือ เห็นผู้อื่นอยู่ในอาวาสนั้น ทนไม่ได้. บทว่า กุลมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ตระกูลอุปัฏฐาก คือ เห็นผู้อื่นเข้าไปหาตระกูลนั้น ทนไม่ได้. บทว่า ลาภมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ลาภ คือ เห็นลาภเกิดแก่ผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า วณฺณมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่คุณความดี คือ เห็นเขากล่าวคุณความดีของผู้อื่น ทนไม่ได้. บทว่า ธมฺมมจฺฉรินี ความว่า ย่อมตระหนี่ปริยัติธรรม คือ ไม่ปรารถนาจะให้แก่ผู้อื่น.

จบอรรถกถา มัจฉริยสูตรที่ ๕