พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. คิลานสูตร ว่าด้วยคุณธรรมสําหรับภิกษุผู้อาพาธ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39191
อ่าน  406

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 262

ตติยปัณณาสก์

คิลานวรรคที่ ๓

๑. คิลานสูตร

ว่าด้วยคุณธรรม สําหรับภิกษุผู้อาพาธ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 262

คิลานวรรคที่ ๓

๑. คิลานสูตร

ว่าด้วยคุณธรรม สำหรับภิกษุผู้อาพาธ

[๑๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจาก ที่หลีกเร้นในเวลาเย็น เสด็จเข้าไปที่ศาลาภิกษุไข้ ได้ทรงเห็นภิกษุรูปหนึ่งที่ทุรพล เป็นไข้ แล้วประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาตกแต่งไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่าไม่งามในกาย ๑ มีความสำคัญว่าเป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ มีความสำคัญว่าไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ พิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ มีมรณสัญญาปรากฏขึ้นด้วยดี ณ ภายใน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมไม่ละภิกษุบางรูปที่ทุรพล เป็นไข้ เธอนั้นพึงหวังผลนี้ คือ จักทำให้แจ้ง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทิ้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ต่อกาลไม่นานเลย.

จบคิลานสูตรที่ ๑