พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรและไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39197
อ่าน  567

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 265

ตติยปัณณาสก์

คิลานวรรคที่ ๓

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควร และไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 265

๔. ทุติยอุปัฏฐากสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควร และไม่ควรพยาบาลภิกษุไข้

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้พยาบาลเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อจัดยา ๑ ไม่ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายเข้าไปให้ นำสิ่งสบายออกไป ๑ เป็นผู้เพ่งอามิสพยาบาล ไม่เป็นผู้มีเมตตาจิตพยาบาล ๑ เป็นผู้มักรังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลาย ๑ ไม่สามารถจะชี้แจงภิกษุไข้ ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้พยาบาล ย่อมเป็นผู้สามารถเพื่อจัดยา ๑ ทราบสิ่งสบายและไม่สบาย นำสิ่งไม่สบายออกไป นำสิ่งสบายเข้ามาให้ ๑ เป็นผู้มีเมตตาจิตพยาบาล ไม่เป็นผู้เพ่งอามิสพยาบาล ๑ ไม่รังเกียจเพื่อนำออกซึ่งอุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน หรือน้ำลาย ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อชี้แจงภิกษุไข้ ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาโดยกาลอันสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พยาบาล ภิกษุไข้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเป็นผู้พยาบาลภิกษุไข้.

จบทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 266

คิลานวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาทุติยอุปัฏฐากสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔ แห่งวรรค ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น ปฏิพโล ได้แก่ ไม่ประกอบด้วยกำลังกาย และกำลังญาณ. บทว่า อามิสนฺตโร ได้แก่ เป็นผู้เห็นแก่อามิส คือหวังปัจจัยมีจีวร เป็นต้น.

จบอรรถกถา ทุติยอุปัฏฐากสูตรที่ ๔