๕. ปฐมปัตถนาสูตร ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 282
ตติยปัณณาสก์
ราชวรรคที่ ๔
๕. ปฐมปัตถนาสูตร
ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่ และภิกษุ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 282
๕. ปฐมปัตถนาสูตร
ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่ และภิกษุ
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงปรารถนาราชสมบัติ องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ ย่อมทรงเป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายพระมารดา ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์ เป็นที่ถือปฏิสนธิ หมดจดดีตลอด
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 283
๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณ ผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา ๑ ทรงเป็นที่รักเป็นที่พอใจแห่งชาวนิคมชนบท ๑ ทรงศึกษาสำเร็จดีแล้ว ในศิลปศาสตร์แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว เช่น ในศิลปศาสตร์ ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ๑ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริ อย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายพระมารดา ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์ เป็นที่ถือปฏิสนธิ หมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ เป็นผู้อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นที่รักเป็นที่พอพระทัยแห่ง พระมารดา และพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นที่รักเป็นที่พอใจ แห่งชาวนิคมชนบท ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า เราแลเป็นผู้ได้ศึกษาสำเร็จดีแล้ว ในศิลปศาสตร์ แห่งพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว เช่น ในศิลปศาสตร์ ในเพราะช้าง ม้า รถ หรือธนู ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาราชสมบัติเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ ของพระราชาผู้กษัตริย์ ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ นี้แล ย่อมทรงปรารถนาราชสมบัติ ฉันใด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ เป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบด้วย
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 284
ไฟธาตุสำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ๑ เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริง ในพระศาสดา หรือเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ๑ เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา เครื่องหยั่งเห็นความเกิด และความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อต่อพระปัญญา เครื่องตรัสรู้ของตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีอาพาธน้อย มีโรคน้อย ประกอบ ด้วยไฟธาตุ สำหรับย่อยอาหารสม่ำเสมอดี ไม่เย็นนัก ไม่ร้อนนัก เป็นปานกลาง ควรแก่การบำเพ็ญเพียร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแล เป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เปิดเผยตนตามเป็นจริง ในพระศาสดา หรือเพื่อน พรหมจรรย์ผู้รู้แจ้ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็น ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบด้วยปัญญา เครื่องหยั่งเห็นความเกิดความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.
จบปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 285
อรรถกถาปฐมปัตถนาสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เนคมชานปทสฺส ได้แก่ ของชนผู้อยู่ในนิคม และผู้อยู่ในแว่นแคว้น. ด้วยบทว่า หตฺถิสฺมี เป็นต้น ทรงแสดงศิลปะสำคัญ ๑๖ ประการ มีศิลปะเกี่ยวกับช้าง ม้า รถ ธนู จารึก และคำนวณ เป็นต้น. บทว่า อนวโย ได้แก่ สำเร็จบริบูรณ์. คำที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถา ปฐมปัตถนาสูตรที่ ๕