พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยปัตถนาสูตร ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่และภิกษุ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  27 ต.ค. 2564
หมายเลข  39209
อ่าน  366

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 285

ตติยปัณณาสก์

ราชวรรคที่ ๔

๖. ทุติยปัตถนาสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่ และภิกษุ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 285

๖. ทุติยปัตถนาสูตร

ว่าด้วยองค์คุณของพระราชโอรสองค์ใหญ่ และภิกษุ

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษก ทรงประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ ย่อมทรงปรารถนา เป็นอุปราช องค์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้วในโลกนี้ เป็นอุภโตสุชาติทั้งฝ่ายพระมารดา ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์ เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงพระชาติไม่ได้ ๑ ทรงมีพระรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยพระฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ๑ ทรงเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดา พระบิดา ๑ ทรงเป็นที่รักที่พอใจแห่งกอง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 286

ทหาร ๑ ทรงเฉียบแหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ๑ พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น ย่อมทรงดำริอย่างนี้ว่า เราแลเป็นอุภโตสุชาติ ทั้งฝ่ายพระมารดา ทั้งฝ่ายพระบิดา มีพระครรภ์ เป็นที่ถือปฏิสนธิหมดจดดีตลอด ๗ ชั่วบรรพบุรุษ อันใครๆ จะคัดค้าน ตำหนิ โดยอ้างถึงชาติไม่ได้ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยฉวีวรรณผุดผ่องดียิ่ง ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัยแห่งพระมารดาพระบิดา ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นที่รัก ที่พอใจแห่งกองทหาร ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า เราแลเป็นผู้เฉียบแหลม ฉลาด มีปัญญา สามารถคิดเหตุการณ์ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาเป็นอุปราชเล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้กษัตริย์ได้มูรธาภิเษกแล้ว ประกอบด้วยองค์ ๕ ประการ นี้แล ย่อมทรงปรารถนาเป็นอุปราช ฉันใด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ๑ เป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ๑ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐานทั้งสี่ ๑ เป็นผู้ปรารถนาความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ๑ เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ๑ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เราแลเป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทาน ศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นพหูสูต ฯลฯ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 287

ความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ไฉน เราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า เราแลเป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ไฉนเราจะไม่พึงปรารถนาความสิ้นอาสวะเล่า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมปรารถนาความสิ้นอาสวะ.

จบทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยปัตถนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปรชฺชํ ได้แก่ ความเป็นอุปราช.

จบอรรถกถา ทุติยปัตถนาสูตรที่ ๖