พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มิตตสูตร ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรคบและไม่ควรคบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39220
อ่าน  410

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 311

ตติยปัณณาสก์

ติกัณฑกีวรรคที่ ๕

๖. มิตตสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรคบ และไม่ควรคบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 311

๖. มิตตสูตร

ว่าด้วยธรรมของภิกษุผู้ควรคบ และไม่ควรคบ

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ไม่ควรคบเป็นมิตร ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุย่อมใช้ให้ทำการงาน ๑ ย่อมก่ออธิกรณ์ ๑ ย่อมเป็นผู้โกรธตอบต่อภิกษุผู้เป็นประธาน ๑ ย่อมประกอบการจาริกไปในที่ไม่ควรตลอดกาลนาน ๑ เป็นผู้ไม่สามารถเพื่อยังภิกษุให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมมีกถา โดยกาลสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ไม่ควรคบเป็นมิตร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ควรคบเป็นมิตร ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุย่อมไม่ใช้ให้ทำการงาน ๑ ไม่ก่ออธิกรณ์ ๑ ไม่โกรธตอบต่อภิกษุผู้เป็นประธาน ๑ ไม่ประกอบการจาริก ๑ ในที่ไม่ควรตลอดกาลนาน ๑ เป็นผู้สามารถเพื่อยังภิกษุให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาโดยกาลสมควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรคบเป็นมิตร.

จบมิตตสูตรที่ ๖

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 312

อรรถกถามิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในมิตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กมฺมนฺตํ ได้แก่ ใช้ให้ทำการงานมีทำนา เป็นต้น. บทว่า อธิกรณํ อาทิยติ ได้แก่ ก่ออธิกรณ์ ๔. บทว่า ปาโมกฺเขสุ ภิกฺขูสุ ได้แก่ ในภิกษุผู้เป็นทิศาปาโมกข์คือหัวหน้า. บทว่า ปฏิวิรุทฺโธ โหติ ได้แก่ เป็นผู้ขัดแย้งกันเพราะถือว่าเป็นศัตรู. บทว่า อวฏฺานจาริกํ ได้แก่ เที่ยวไปไม่มีจุดหมาย.

จบอรรถกถา มิตตสูตรที่ ๖