พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อมและไม่ให้เสื่อม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39224
อ่าน  376

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 317

ตติยปัณณาสก์

ติกัณฑกีวรรคที่ ๕

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 317

๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร *

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้เสื่อม และไม่ให้เสื่อม

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ชอบทำการงาน ๑ ความเป็นผู้ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ชอบนอน ๑ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่ชอบทำการงาน ๑ ควานเป็นผู้ไม่ชอบคุย ๑ ความเป็นผู้ไม่ชอบนอน ๑ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ผู้มีจิตหลุดพ้นในสมัย.

จบทุติยสมยวิมุตตสูตรที่ ๑๐

จบติกัณฑกีวรรคที่ ๕


* อรรถกถาว่ามีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 318

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทัตวาอวชานาติสูตร ๒. อารภสูตร ๓. สารันททสูตร ๔. ติกัณฑกีสูตร ๕. นิรยสูตร ๖. มิตตสูตร ๗. อสัปปุริสทานสูตร ๘. สัปปุริสทานสูตร ๙. ปฐมสมยวิมุตตสูตร ๑๐. ทุติยสมยวิมุตตสูตร และอรรถกถา.

จบตติยปัณณาสก์