พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร ว่าด้วยเหตุเสื่อมและเหตุเจริญแห่งศาสนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39229
อ่าน  400

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 323

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อม และเหตุเจริญแห่งศาสนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 323

๔. ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อม และเหตุเจริญแห่งศาสนา

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ฟังธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ไม่ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม โดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญแห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมฟังธรรมโดยเคารพ ๑ เล่าเรียนธรรมโดยเคารพ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 324

ทรงจำธรรมโดยเคารพ ๑ ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้โดยเคารพ ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมโดยเคารพ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม.

จบปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า น สกฺกจฺจํ ธมฺมํ สุณาติ ได้แก่ ไม่เงี่ยหูตั้งใจฟังธรรม. บทว่า น ปริยาปุณาติ ได้แก่ แม้เมื่อจะปฏิบัติธรรม ตามที่ฟังมา ก็ไม่ปฏิบัติโดยเคารพ.

จบอรรถกถา ปฐมสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๔