พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร ว่าด้วยเหตุเสื่อมและไม่เสื่อมแห่งศาสนา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39231
อ่าน  392

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 326

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อม และไม่เสื่อมแห่งศาสนา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 326

๖. ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

ว่าด้วยเหตุเสื่อม และไม่เสื่อมแห่งศาสนา

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ที่ทรงจำไว้ไม่ดี ด้วยบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี แม้อรรถแห่งบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ไม่ดี ย่อมเป็นเนื้อความมีนัยไม่ดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมกระทำให้เป็นผู้ว่ายาก เป็นผู้ไม่อดทน รับคำพร่ำสอนโดยไม่เคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญแห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูต มีการเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ย่อมไม่บอกพระสูตร แก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อมขาดเค้ามูล ไม่มีหลัก นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไป

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 327

เพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง ประชุมชนหลัง ย่อมถือเอาภิกษุเหล่านั้นเป็นตัวอย่าง ประชุมชนเหล่านั้น ก็เป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในทางวิเวก ไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์เป็นผู้แตกกัน เมื่อสงฆ์แตกกันแล้ว ย่อมมีการด่ากันและกัน บริภาษกันและกัน แช่งกันและกัน ทอดทิ้งกันและกัน ในเห่ตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใสแล้ว ย่อมเหินห่าง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไป เพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนพระสูตร ทรงจำไว้ดี ด้วยบท และพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี แม้อรรถแห่งบทและพยัญชนะที่ตั้งไว้ดี ย่อมเป็นเนื้อความที่มีนัยดี นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรม ที่กระทำให้เป็นผู้ว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำพร่ำสอนโดยเคารพ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายที่เป็นพหูสูตเล่าเรียนมาก ทรงธรรม ทรงวินัย และทรง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 328

มาติกา ย่อมบอกแก่ผู้อื่นโดยเคารพ เมื่อภิกษุเหล่านั้นล่วงลับไป พระสูตรย่อม ไม่ขาดเค้ามูล มีหลักฐานอยู่ นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้เถระย่อมไม่มักมาก ไม่ประพฤติย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในทางวิเวก ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อกระทำให้แจ้งธรรม ที่ยังไม่ทำให้แจ้ง นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม อีกประการหนึ่ง สงฆ์ย่อมเป็นผู้สมัครสมานกันดี ชื่นชมต่อกัน ไม่วิวาทกัน มีอุเทศเป็นอย่างเดียวกัน อยู่สบาย ก็เมื่อสงฆ์สมัครสมานกันดี ไม่มีการด่ากันและกัน ไม่บริภาษกันและกัน ไม่มีการแข่งขันกันและกัน ไม่ทอดทิ้งกันและกัน ในเหตุการณ์เช่นนั้น คนผู้ไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และคนบางพวกที่เลื่อมใส แล้ว ย่อมเลื่อมใสยิ่งขึ้น นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือนเสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความตั้งมั่น ไม่ลบเลือน เสื่อมสูญ แห่งสัทธรรม.

จบตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖

อรรถกถาตติยสัทธัมมสัมโมสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อปฺปฏิสรโณ ได้แก่ ไม่มีที่พึ่งอาศัย จริงอยู่ อาจารย์ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นที่พำนักแห่งพระสูตร เพราะไม่มีอาจารย์เหล่านั้น พระสูตรจึงไม่มีที่พึ่งอาศัย. คำที่เหลือในสูตรนี้ มีนัยดังกล่าวแล้ว ในหนหลัง นั่นแล

จบอรรถกถา ตติยสัทธัมมสัมโมสสูตรที่ ๖