พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ทุกถาสูตร ว่าด้วยพูดดีเป็นชั่วและพูดดีเป็นดี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39232
อ่าน  395

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 329

จตุตถปัณณาสก์

สัทธัมมวรรคที่ ๑

๗. ทุกถาสูตร

ว่าด้วยพูดดีเป็นชั่ว และพูดดีเป็นดี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 329

๗. ทุกถาสูตร

ว่าด้วยพูดดีเป็นชั่ว และพูดดีเป็นดี

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวก เป็นไฉน? คือ ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีล เป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทุศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ เป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ได้สดับน้อย ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะ เป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ตระหนี่ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทรามปัญญา ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำชั่วแก่ผู้ไม่มีศรัทธา? เพราะผู้ไม่มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ไม่มีศรัทธานั้น ย่อมไม่เห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ไม่มีศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทุศีล? เพราะผู้ทุศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทุศีลนั้น ย่อมไม่เห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติ และปราโมทย์ ที่มีศีลสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทุศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ได้สดับน้อย? เพราะผู้ได้สดับน้อย เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 330

ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับน้อยนั้น ย่อมไม่เห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ที่มีสุตสัมปทาเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะจึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ได้สดับน้อย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ตระหนี่? เพราะผู้ตระหนี่ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้ตระหนี่นั้นย่อมไม่เห็นจาคสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำชั่วของผู้ตระหนี่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทรามปัญญา? เพราะผู้ทรามปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมขัดข้อง โกรธ พยาบาท กระด้าง แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ทรามปัญญานั้น ย่อมไม่เห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมไม่ได้ปีติปราโมทย์ ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ ปัญญาจึงเป็นถ้อยคำชั่ว แก่ผู้ทรามปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก นี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำชั่ว เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวก ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล บุคคล ๕ จำพวกเป็นไฉน? คือ ถ้อยคำปรารภศรัทธา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา ๑ ถ้อยคำปรารภศีล เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล ๑ ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก ๑ ถ้อยคำปรารภจาคะ เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ ๑ ถ้อยคำปรารภปัญญา เป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา ๑.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 331

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศรัทธา จึงเป็นถ้อยคำ ดีแก่ผู้มีศรัทธา? เพราะผู้มีศรัทธา เมื่อพูดเรื่องศรัทธา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีศรัทธานั้น ย่อมเห็นศรัทธาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ ที่มีศรัทธาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภ ศรัทธาจึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศรัทธา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภศีล จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีศีล? เพราะผู้มีศีล เมื่อพูดเรื่องศีล ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะผู้มีศีลนั้น ย่อมเห็นศีลสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ ที่มีศีลสัมปทานนั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภศีลจึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีศีล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก? เพราะผู้ได้สดับมาก เมื่อพูดเรื่องพาหุสัจจะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้ได้สดับมาก ย่อมเห็นสุตสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ ที่มีสุตสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภพาหุสัจจะ จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้ได้สดับมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็นถ้อยคำดี แก่ผู้มีจาคะ? เพราะผู้มีจาคะ เมื่อพูดเรื่องจาคะ ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีจาคะนั้น ย่อมเห็นจาคสัมปทาในตน และย่อม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 332

ได้ปีติปราโมทย์ ที่มีจาคสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภจาคะ จึงเป็น ถ้อยคำดีแก่ผู้มีจาคะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา? เพราะผู้มีปัญญา เมื่อพูดเรื่องปัญญา ย่อมไม่ขัดข้อง ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่กระด้าง ไม่แสดงความโกรธเคือง และความขัดใจให้ปรากฏ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะผู้มีปัญญานั้น ย่อมเห็นปัญญาสัมปทาในตน และย่อมได้ปีติปราโมทย์ ที่มีปัญญาสัมปทานั้นเป็นเหตุ ฉะนั้น ถ้อยคำปรารภปัญญา จึงเป็นถ้อยคำดีแก่ผู้มีปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้อยคำของบุคคล ๕ จำพวกนี้แล ย่อมเป็นถ้อยคำดี เมื่อเทียบบุคคลกับบุคคล.

จบทุกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุกถาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุกถาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุคฺคลํ อุปนิธาย ความว่า อ้างถึงบุคคลนั้นแล้ว ทำให้เป็นพยาน. บทว่า กจฺฉมานาย แปลว่า กล่าวคำที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา ทุกถาสูตรที่ ๗