พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. โจทนาสูตร ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39244
อ่าน  448

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 354

จตุตถปัณณาสก์

อาฆาตวรรคที่ ๒

๗. โจทนาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 354

๗. โจทนาสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้เป็นโจทก์

[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรได้เรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการ ไว้ภายในก่อนแล้ว จึงโจทผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ธรรมว่า เราจักกล่าวโดยกาลควร จักไม่กล่าวโดยกาลไม่ควร ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องจริง จักไม่กล่าวด้วยเรื่องไม่จริง ๑ จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑ จักกล่าวด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยเรื่อง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 355

ที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ จักเป็นผู้มีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เป็นผู้เพ่งโทษกล่าว ๑ ดูก่อนอาวุโส ภิกษุผู้โจทก์ใคร่จะโจทผู้อื่น พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ ไว้ภายในก่อนแล้ว จึงโจทผู้อื่น.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคน ในธรรมวินัยนี้ ถูกผู้อื่นโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลอันควร ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกผู้อื่นโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ก็โกรธ.

ดูก่อนอาวุโส ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลไม่ควร ไม่ถูกโจทโดยกาลควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำหยาบ ไม่ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ไม่ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ถูกโจทโดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลไม่ควร ไม่โจทโดยกาลควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องไม่จริง ไม่โจทด้วยเรื่องจริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำหยาบ ไม่โจทด้วยคำอ่อนหวาน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 356

ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเพ่งโทษ ไม่โจทด้วยเมตตาจิต ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์โดยไม่เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่น ไม่พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องไม่จริง.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราเห็นบุคคลบางคนในธรรมวินัยนี้ ถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ก็โกรธ ถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ก็โกรธ ถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยเพ่งโทษ ก็โกรธ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ คือ ท่านถูกโจทโดยกาลควร ไม่ถูกโจทโดยกาลไม่ควร ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องจริง ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่ถูกโจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ถูกโจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงควรเดือดร้อน ท่านถูกโจทด้วยเมตตาจิต ไม่ถูกโจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้ถูกโจทโดยธรรม ด้วยอาการ ๕ นี้.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้โจทก์โดยเป็นธรรม โดยอาการ ๕ คือ ท่านโจทโดยกาลควร ไม่โจทโดย

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 357

กาลไม่ควร ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องจริง ไม่โจทด้วยเรื่องไม่จริง ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยคำอ่อนหวาน ไม่โจทด้วยคำหยาบ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่โจทด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ท่านโจทด้วยเมตตาจิต ไม่โจทด้วยการเพ่งโทษ ท่านจึงไม่ควรเดือดร้อน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความไม่เดือดร้อน ภิกษุพึงให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้โจทก์เป็นธรรม โดยอาการ ๕ นี้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าภิกษุแม้รูปอื่น พึงเข้าใจว่า พึงโจทด้วยเรื่องจริง.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อันบุคคลผู้ถูกโจท พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย (ถ้า) ผู้อื่นพึงโจท (เรา) ด้วยธรรม ๕ ประการ คือ พึงโจทโดยกาลควรหรือโดยกาลไม่ควร ๑ ด้วยเรื่องจริงหรือด้วยเรื่องไม่จริง ๑ ด้วยคำอ่อนหวานหรือด้วยคำหยาบ ๑ ด้วยเรื่องที่ประกอบด้วยประโยชน์ หรือด้วยเรื่องที่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ด้วยเมตตาจิตหรือด้วยเพ่งโทษ ๑ แม้เราก็พึงตั้งอยู่ในธรรม ๒ ประการ คือ ความจริง และความไม่โกรธ ถ้าเราพึงทราบว่า ธรรมนั้นมีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าว ธรรมนั้นว่ามีอยู่ ว่าธรรมนั้นมีอยู่พร้อมในเรา ถ้าเราพึงทราบว่า ธรรมนั้นไม่มีอยู่ในเราไซร้ เราก็พึงกล่าวธรรมนั้นว่าไม่มีอยู่ ว่าธรรมนั้น ไม่มีอยู่พร้อมในเรา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เรื่องก็จะพึงเป็นเช่นนั้น แต่ว่าโมฆบุรุษ บางพวกในธรรมวินัยนี้ เมื่อถูกกล่าวสอน ย่อมไม่รับโดยเคารพ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 358

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต มิใช่ออกบวชด้วยศรัทธา เป็นผู้โอ้อวด มีมารยา เกเร ฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง เหลาะแหละ ปากกล้า พูดพล่าม ไม่สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ไม่เพ่งถึงความเป็นสมณะ ไม่มีความเคารพกล้าในสิกขา มักมาก ย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในการล่วงละเมิด ทอดธุระในวิเวก เกียจคร้าน มีความเพียรทราม มีสติเลอะเลือน ไม่มีสัมปชัญญะ ไม่มีจิตมั่นคง มีจิตฟุ้งซ่าน มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย คนเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมไม่รับโดยเคารพ ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่เกเร ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เย่อหยิ่ง ไม่เหลาะแหละ ไม่ปากกล้า ไม่พูดพล่าม สำรวมทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร เพ่งถึงความเป็นสมณะ มีความเคารพกล้าในสิกขา ไม่มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการล่วงละเมิด เป็นหัวหน้าในวิเวก ปรารภความเพียร อบรมตน มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตเป็นหนึ่ง มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย กุลบุตรเหล่านั้น เมื่อถูกข้าพระองค์กล่าวสอนอย่างนี้ ย่อมรับโดยเคารพ.

พ. ดูก่อนสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต... มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช... มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูก่อนสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าว กุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอน เพื่อนพรหมจรรย์ ด้วยหวังว่า เราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์ จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม เธอพึงสำเหนียกไว้ อย่างนี้แล สารีบุตร.

จบโจทนาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 359

อรรถกถาโจทนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในโจทนาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โจทเกน ความว่า ภิกษุผู้เป็นโจทก์ โจทด้วยโจทนวัตถุ ๔ คือ ชี้วัตถุ ชี้อาบัติ ห้ามสังวาส ห้ามสามีจิกรรม. ในบทว่า กาเลน วกฺขามิ โน อกาเลน นี้ พระสารีบุตรเถระกล่าวถึงกาลของภิกษุผู้ถูกโจท [จำเลย] ไม่ได้กล่าวถึงกาลของโจทก์ [ผู้ฟ้อง]. จริงอยู่ ผู้ที่จะโจทผู้อื่น ไม่ควรโจท ในท่ามกลางบริษัท หรือในโรงอุโบสถปวารณา หรือที่หอนั่งและหอฉัน เป็นต้น. ในเวลานั่งในที่พักกลางวัน ควรขอโอกาสอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ จงให้โอกาส ผมประสงค์จะพูดกะท่านดังนี้ แล้วจึงโจท. เพ่งถึงบุคคล บุคคลเหลาะแหละใด กล่าวคำไม่จริง ยกโทษแก่ภิกษุ บุคคลเหลาะแหละนั้น ไม่ต้องขอโอกาสพึงโจทเลย. บทว่า ภูเตน คือ โดยความจริง โดยสภาพ. บทว่า สณฺเหน คือ โดยสุภาพอ่อนโยน. บทว่า อตฺถสญฺหิเตน ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้หวังดี ใคร่ประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า อวิปฺปฏิสาโร อุปทหิตพฺโพ ได้แก่ ไม่ให้เกิดความเก้อเขิน. บทว่า อลนฺเต อวิปฺปฏิสาราย ได้แก่ ท่านควรเป็นผู้ไม่เก้อเขิน. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา โจทนาสูตรที่ ๗