พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ปัตตปัณฑิกสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร ๕ จําพวก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  28 ต.ค. 2564
หมายเลข  39267
อ่าน  388

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 399

จตุตถปัณณาสก์

อรัญญวรรคที่ ๔

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร ๕ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 399

๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร ๕ จำพวก

[๑๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ๕ จำพวกเป็นไฉน? คือ ภิกษุเป็นผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร เพราะโง่เขลา เพราะหลงงมงาย ๑ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ จึงเป็นผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๑ เป็นผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร เพราะรู้ว่าเป็นวัตร อันพระพุทธเจ้า และสาวกแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สรรเสริญ ๑ เป็นผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร เพราะอาศัย ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงาม เช่นนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือฉัน เฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวก นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร เพราะอาศัย ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศ ประเสริฐ เป็นประธานสูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากโค นมส้มเกิดจากนมสด เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใสเกิดจากเนยข้น หัวเนยใส ชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นเลิศในจำพวกโครส ๕ เหล่านั้น ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 28 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 400

เป็นวัตร เพราะอาศัย ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความสงัด ความเป็นผู้มีความต้องการ ด้วยข้อปฏิบัติอันงามเช่นนี้ เป็นผู้เลิศประเสริฐ เป็นประธานสูงสุด และล้ำเลิศแห่งภิกษุ ผู้ถือฉันเฉพาะในบาตร เป็นวัตร ๕ จำพวกนี้ ฉันนั้น เหมือนกัน.

จบปัตตปิณฑิกสูตรที่ ๑๐

จบอรัญญวรรคที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อารัญญกสูตร ๒. ปังสุกูลิกสูตร ๓. รุกขมูลิกสูตร ๔. โสสานิกสูตร ๕. อัพโภกาสิกสูตร ๖. เนสัชชิกสูตร ๗. ยถาสันถติกสูตร ๘. เอกาสนิกสูตร ๙. ขลุปัจฉาภัตติกสูต ๑๐. ปัตตปิณฑิกสูตร และอรรถกถา.