พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยอขันติสูตร ว่าด้วยโทษของอขันติและคุณของขันติ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39299
อ่าน  372

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 468

ปัญจมปัณณาสก์

อักโกสกวรรคที่ ๒

๖. ทุติยอขันติสูตร

ว่าด้วยโทษของอขันติ และคุณของขันติ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 468

๖. ทุติยอขันติสูตร

ว่าด้วยโทษของอขันติ และคุณของขันติ

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจ ของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษของความไม่อดทน ๕ ประการ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ผู้อดทนย่อมเป็นที่รัก เป็นที่ชอบใจ ของคนเป็นอันมาก ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่โหดร้าย ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ของความอดทน ๕ ประการ นี้แล.

จบทุติยอขันติสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยอขันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในทุติยอขันติสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ลุทฺโท ได้แก่ ทารุณ ดุร้าย. บทว่า วิปฺปฏิสารี คือ ประกอบด้วยความเก้อเขิน.

จบอรรถกถา ทุติยอขันติสูตรที่ ๖