พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร ว่าด้วยคุณและโทษของกรรมที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39300
อ่าน  396

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 469

ปัญจมปัณณาสก์

อักโกสกวรรคที่ ๒

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของกรรม ที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 469

๗. ปฐมอปาสาทิกสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของกรรม ที่น่าเลื่อมใสและไม่น่าเลื่อมใส

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรม เป็นต้น อันไม่น่าเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน? คือ แม้ตนเองย่อมติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมติเตียน ๑ กิตติศัพท์ที่ชั่วย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในบุคคล ผู้ถึงพร้อมด้วยกายกรรม เป็นต้น อันไม่น่าเลื่อมใส.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคล ผู้มีความประพฤตินำมา ซึ่งความเลื่อมใส ๕ ประการเป็นไฉน? คือ แม้ตนเองย่อมไม่ติเตียนตนได้ ๑ วิญญูชนพิจารณาแล้ว ย่อมสรรเสริญ ๑ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งไป ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในบุคคลผู้มีความประพฤติ นำมาซึ่งความเลื่อมใส.

จบปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 470

อรรถกถาปฐมอปาสาทิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมอปาสาทิก สูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกายกรรม เป็นต้น ที่ไม่น่าเลื่อมใส. บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ ผู้ประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยบริสุทธิ์ อันนำมาซึ่งความเลื่อมใส.

จบอรรถกถา ปฐมอปาสาทิกสูตรที่ ๗