พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อภินิวาสสูตร ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39310
อ่าน  443

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 475

ปัญจมปัณณาสก์

ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

๓. อภินิวาสสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 475

๓. อภินิวาสสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการอยู่อาศัย

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุอยู่ประจำที่ย่อมมีสิ่งของมาก มีการสะสม สิ่งของมาก ๑ มีเภสัชมาก ๑ มีการสะสมเภสัชมาก ๑ มีกิจมาก มีกรณียมาก ไม่ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ ๑ ย่อมอยู่คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ย่อมมีความห่วงใยหลีกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในการอยู่ประจำที่ ๕ ประการ นี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนด พอสมควร ๕ ประการ นี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุผู้อยู่มีกำหนด พอสมควร ย่อมไม่มีสิ่งของมาก ไม่มีการสะสมสิ่งของมาก ๑ ไม่มีเภสัชมาก ไม่มีการสะสมเภสัชมาก ๑ ไม่มีกิจมาก ไม่มีกรณียมาก ฉลาดในกิจที่จะต้องทำ ๑ ไม่เป็นผู้คลุกคลีด้วย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 476

คฤหัสถ์ และบรรพชิต ด้วยการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ อันไม่สมควร ๑ เมื่อจะหลีกไปจากอาวาสนั้น ไม่มีความห่วงใยหลีกไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ในการอยู่มีกำหนด พอสมควร ๕ ประการ นี้แล.

จบอภินิวาสสูตรที่ ๓

อรรถกถา อภินิวาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอภินิวาสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พหุภณฺโฑ ได้แก่ เป็นผู้มีบริขารมาก. บทว่า พหุเภสชฺโช ได้แก่ เป็นผู้มีเภสัชมาก เพราะเนยใส และเนยข้น เป็นต้นมีมาก. บทว่า อพฺยตฺโต คือ เป็นคนไม่ฉลาด. บทว่า สํสฏฺโ คือ เป็นผู้คลุกคลีอยู่ด้วย การคลุกคลี ๕ อย่าง. บทว่า อนนุโลมิเกน ได้แก่ ไม่สมควรแก่ศาสนา.

จบอรรถกถา อภินิวาสสูตรที่ ๓