พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมกุลุปกสูตร ว่าด้วยโทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39312
อ่าน  421

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 478

ปัญจมปัณณาสก์

ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

๕. ปฐมกุลุปกสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 478

๕. ปฐมกุลุปกสูตร

ว่าด้วยโทษแห่งการเข้าไปสู่สกุล

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในภิกษุ ผู้เข้าไปสู่สกุล ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล ย่อมต้องอาบัติ เพราะเที่ยวไปโดยไม่บอกลา ๑ ย่อมต้องอาบัติ เพราะนั่งในที่ลับหูกับมาตุคาม ๑ ย่อมต้องอาบัติ เพราะนั่งในที่ลับตากับมาตุคาม ๑ เมื่อแสดงธรรมแก่มาตุคาม เกินกว่า ๕ - ๖ คำ ย่อมต้องอาบัติ ๑ ย่อมมากด้วยความดำริ ในกามอยู่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้แล มีอยู่ในภิกษุผู้เข้าไปสู่สกุล.

จบปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕

อรรถกถา ปฐมกุลุปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า อนามนฺตจาเร อาปชฺชติ ความว่า ต้องอาบัติ ที่ตรัสไว้ใน สิกขาบทว่า ภิกษุรับนิมนต์แล้ว มีภัตอยู่แล้ว ไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่ ถึงความเป็นผู้เที่ยวไปในตระกูลทั้งหลาย ก่อนอาหาร หรือทีหลังอาหาร ดังนี้. แม้บทเป็นต้นว่า รโหนิสชฺชาย พึงทราบตามสิกขาบทเหล่านั้น.

จบอรรถกถา ปฐมกุลุปกสูตรที่ ๕