พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ภัตตสูตร ว่าด้วยคุณและโทษของการหุงต้ม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39315
อ่าน  401

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 480

ปัญจมปัณณาสก์

ทีฆจาริกวรรควรรณนาที่ ๓

๘. ภัตตสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการหุงต้ม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 480

๘. ภัตตสูตร

ว่าด้วยคุณและโทษของการหุงต้ม

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหาร ในเวลาสาย ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ย่อมไม่ได้ต้อนรับแขก ที่ควรต้อนรับตามเวลา ๑ ไม่ได้บูชาเทวดา ผู้รับพลีตามเวลา ๑ ไม่ได้ต้อนรับสมณพราหมณ์ ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉันในเวลาวิกาล ตามเวลา ๑ พวกคนใช้ คนงาน และบริวารหลบหน้าทำการงาน ๑ อาหารที่บริโภคตามเวลา ที่ไม่ควรเช่นนั้น ไม่มีโอชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหาร ในเวลาสาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการนี้ มีอยู่ในสกุลที่หุงต้ม อาหารตามเวลา ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ย่อมได้ต้อนรับแขกที่ควรต้อนรับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 481

ตามเวลา ๑ ย่อมได้บูชาเทวดาผู้รับพลีตามเวลา ๑ ย่อมได้ต้อนรับสมณพราหมณ์ ผู้ฉันหนเดียว งดการฉันในเวลากลางคืน เว้นการฉันในเวลาวิกาล ตามเวลา ๑ คนใช้ คนงาน และบริวาร ย่อมไม่หลบหน้าทำการงาน ๑ อาหารที่บริโภคตามเวลาที่ควรเช่นนั้น ย่อมมีโอชา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการ นี้แล มีอยู่ในสกุลที่หุงต้มอาหาร ตามเวลา.

จบภัตตสูตรที่ ๘

อรรถกถา ภัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในภัตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุสฺสูรภตฺเต ได้แก่ ในตระกูลที่หุงต้มอาหารสาย. บทว่า น กาเลน กฏิปูเชนฺติ ความว่า พวกเขาไม่หุงต้มยาคูในเวลายาคู ของขบเคี้ยวในเวลาขบเคี้ยว อาหารในเวลาอาหาร จึงไม่บูชาตามเวลา เพราะเวลาที่ประกอบขวนขวาย ล่วงเลยไปแล้ว. ชื่อว่า ให้ด้วยจิตของตนเท่านั้น. ต่อมา เมื่อพวกชนเหล่านั้น มาสู่เรือนของตน เขาก็ย่อมกระทำอย่างนั้น เหมือนกัน. แม้เทวดาผู้คอยรับพลีมาแล้ว ตามประเพณีแห่งตระกูล ต่อได้ลาภ ตามกาลอันเหมาะอันควร จึงรักษาคุ้มครอง. แต่เมื่อได้รับความบีบคั้น ไม่ได้ตามเวลา ไม่ทำอารักขา ด้วยคิดว่า พวกเหล่านี้ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อในพวกเรา ดังนี้. แม้สมณพราหมณ์ ย่อมไม่ทำกิจที่ควรทำ ในงานมงคลและอวมงคล ด้วยคิดว่า ในเรือนของคนเหล่านั้น ไม่มีอาหาร ในเวลาอาหาร เขาให้ในเวลาเที่ยงตรง ดังนี้. บทว่า วิมุขา กมฺมํ กโรนฺติ ความว่า พวกคนใช้ เป็นต้น ละงาน นั่งอยู่ด้วยคิดว่า ในเวลาเช้า พวกเรายังไม่ได้อะไรเลย. พวกเราหิวเหลือเกิน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 482

แล้ว ไม่สามารถจะทำการงานได้ ดังนี้. บทว่า อโนชวนฺตํ โหติ ได้แก่ อาหารที่บริโภคไม่เป็นไปตามเวลา ย่อมไม่สามารถจะแผ่โอชะไปได้. ธรรมที่เป็นสุกกปักข์ฝ่ายดี พึงทราบ ตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถา ภัตตสูตรที่ ๘