พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ปุคคลปสาทสูตร ว่าด้วยโทษของการเลื่อมใสที่เกิดขึ้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  29 ต.ค. 2564
หมายเลข  39341
อ่าน  374

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 501

ปัญจมปัณณาสก์

ทุจริตวรรคที่ ๕

๑๐. ปุคคลปสาทสูตร

ว่าด้วยโทษของการเลื่อมใสที่เกิดขึ้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 501

๑๐. ปุคคลปสาทสูตร

ว่าด้วยโทษของการเลื่อมใสที่เกิดขึ้น

[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้นในบุคคล ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ บุคคลใดย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ อันเป็นเหตุ ให้สงฆ์ยกวัตร เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์ยกวัตรเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมาก ในพวกภิกษุ เมื่อไม่มีความเลื่อมใสมาก ในพวกภิกษุ จึงไม่คบหาภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 502

เหล่าอื่น เมื่อไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นต้องอาบัติ อันเป็นเหตุให้สงฆ์ บังคับให้เขานั่งที่สุดสงฆ์ เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ ถูกสงฆ์บังคับให้นั่ง ในที่สุดสงฆ์เสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมาก ในพวกภิกษุ... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้น หลีกไปสู่ทิศเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ หลีกไปสู่ทิศเสียแล้ว เขาจึงเป็นผู้ไม่มีความเลื่อมใสมาก ในพวกภิกษุ... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นลาสิกขา เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลรู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ ลาสิกขาเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น... จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง บุคคลย่อมเลื่อมใสในบุคคลใด บุคคลนั้นกระทำกาละเสีย เขาจึงคิดอย่างนี้ว่า บุคคลผู้เป็นที่รัก ที่ชอบใจของเรานี้ กระทำกาละเสียแล้ว เขาจึงไม่คบหาภิกษุเหล่าอื่น จึงไม่ฟังสัทธรรม เมื่อไม่ฟังสัทธรรม จึงเสื่อมจากสัทธรรม นี้เป็นโทษ ในความเลื่อมใส ที่เกิดขึ้นในบุคคล ข้อที่ ๕.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษในความเลื่อมใส ที่เกิดในบุคคล ๕ ประการ นี้แล.

จบปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐

จบทุจริตวรรคที่ ๕

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 503

อรรถกถาปุคคลปสาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุคฺคลปฺปสาเท ได้แก่ ในความเลื่อมใสที่เกิดขึ้น ในบุคคลคนหนึ่ง. บทว่า อนฺเต นิสีทาเปติ ได้แก่ ให้เธอนั่งท้ายอาสนะของพวกภิกษุ. บทที่เหลือ ในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถา ปุคคลปสาทสูตรที่ ๑๐

จบทุจริตวรรควรรณนาที่ ๕

จบปัญจมปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุจริตสูตร ๒. กายทุจริตสูตร ๓. วจีทุจริตสูตร ๔. มโนทุจริตสูตร ๕. อปรทุจริตสูตร ๖. อปรกายทุจริตสูตร ๗. อปรวจีทุจริตสูตร ๘. อปรมโนทุจริตสูตร ๙. สีวถิกาสูตร ๑๐. ปุคคลปสาทสูตร และอรรถกถา.