ว่าด้วยคุณธรรมและประเภทธรรมต่างๆ
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 504
พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค
ว่าด้วยคุณธรรม และประเภทธรรมต่างๆ
จบปัญจกนิบาต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 504
พระสูตรที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในวรรค *
ว่าด้วยคุณธรรม และประเภทธรรมต่างๆ
[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยสมาธิขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยปัญญาขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัศนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประกาย นี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้.
[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้นิสัยได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัศนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล พึงให้นิสัยได้.
[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ฯลฯ ประกอบด้วยวิมุตติญาณทัศนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล พึงให้สามเณรอุปัฏฐากได้.
* อรรถกถาแก้ไว้ท้ายวรรคนี้.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 505
[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล (อุปัฏฐาก) ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ ๕ ประการ นี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาความตระหนี่ ๕ ประการนี้ ความตระหนี่ที่น่าเกลียดยิ่ง คือ ความตระหนี่ธรรม.
[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการ ความตระหนี่ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาด ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด ความตระหนี่สกุล ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด ความตระหนี่ลาภ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด ความตระหนี่วรรณะ ๑ เพื่อละ เพื่อตัดขาด ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอยู่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อละ เพื่อตัดขาดความตระหนี่ ๕ ประการ นี้แล.
[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรบรรลุปฐมฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๔ ประการ นี้แล ควร บรรลุปฐมฌาน.
[๒๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... ไม่ควรเพื่อทำให้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 506
แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล... สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความตระหนี่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความตระหนี่ธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเพื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล.
[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่ สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเพื่อบรรลุปฐมฌาน.
[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ไม่ควรเพื่อบรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งโสดาปัตติผล... สกทาคามิผล... อนาคามิผล... อรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ๑ ความตระหนี่สกุล ๑ ความตระหนี่ลาภ ๑ ความตระหนี่วรรณะ ๑ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 507
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ นี้แล ไม่ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ ควรเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งอรหัตตผล ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ความตระหนี่ที่อยู่ ฯลฯ ความเป็นคนอกตัญญูกตเวที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุละธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล.
[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ลำเอียงเพราะรัก ๑ ลำเอียงเพราะชัง ๑ ลำเอียงเพราะหลง ๑ ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมไม่รู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้ว และยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์.
[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ แม้สมมติแล้วก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัตตุเทสก์ สมมติแล้วก็พึงใช้ให้ทำการ ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนนำมาโยนลง
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 508
ฯลฯ ภิกษุภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้ภัตที่ได้นิมนต์แล้วและยังไม่ได้นิมนต์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุภัตตุเทสก์ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ ผู้ปูลาดเสนาสนะ... ไม่รู้เสนาสนะ ที่ได้ปูลาดแล้ว และยังไม่ได้ปูลาด... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนปัญญาปกะ... ย่อมรู้เสนาสนะ ที่ได้ปูลาดแล้ว และยังไม่ได้ปูลาด...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ ผู้ให้ภิกษุถือเสนาสนะ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นเสนาสนคาหาปกะ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นภัณฑาคาริก ผู้รักษาเรือนคลัง... ย่อมไม่รู้ภัณฑะที่เก็บแล้ว และยังไม่ได้เต็ม... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นภัณฑาคาริก... ย่อมรู้ภัณฑะที่ได้เก็บแล้ว และยังไม่ได้เก็บ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ ผู้รับจีวร... ย่อมไม่รู้จีวรที่รับแล้ว และยังไม่ได้รับ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวรปฏิคคาหกะ... ย่อมรู้จีวรที่รับแล้ว และยังไม่ได้รับ...
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 509
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นจีวรภาชกะ ผู้แจกจีวร... ไม่รู้จีวรที่ได้แจกแล้ว และยังไม่ได้แจก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นจีวรภาชกะ... ย่อมรู้จีวรที่แจกแล้ว และยังไม่ได้แจก...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง สมมติให้เป็นยาคุภาชกะ ผู้แจกข้าวยาคู... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นยาคุภาชกะ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นผลภาชกะ ผู้แจกผลไม้... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติ ให้เป็นผลภาชกะ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ ผู้แจกของขบเคี้ยว... ย่อมไม่รู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้ว และยังไม่ได้แจก... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นขัชชกภาชกะ... ย่อมรู้ของขบเคี้ยวที่แจกแล้ว และยังไม่ได้แจก...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ ผู้จ่ายของเล็กน้อย... ย่อมไม่รู้ของเล็กน้อย ที่ได้จ่ายแล้ว และยังไม่ได้จ่าย... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอัปปมัตตกวิสัชชกะ... รู้ของเล็กน้อยที่ได้จ่ายแล้ว และยังไม่ได้จ่าย...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ ผู้รับผ้าสาฎก... ย่อมไม่รู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้ว และยังไม่ได้รับ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 510
สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสาฏิยคาหาปกะ... ย่อมรู้ผ้าสาฎกที่ได้รับแล้ว และยังไม่ได้ รับ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึง สมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ ผู้รับบาตร... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้ว และไม่ได้รับ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นปัตตคาหาปกะ... ย่อมไม่รู้บาตรที่รับแล้ว และยังไม่ได้รับ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ ผู้ใช้คนวัด... ย่อมไม่รู้คนที่ได้ใช้แล้ว ยังไม่ได้ใช้... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นอารามิกเปสกะ... ย่อมรู้คนที่ได้ใช้แล้ว และยังไม่ได้ใช้...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์ไม่พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ แม้สมมติแล้ว ก็ไม่พึงใช้ให้ทำการ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ สงฆ์พึงสมมติให้เป็นสามเณรเปสกะ สงฆ์พึงสมมติแล้ว พึงใช้ให้ทำการ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล... พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณร-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 511
เปสกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ ไม่ลำเอียงเพราะรัก ๑ ไม่ลำเอียงเพราะชัง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะหลง ๑ ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ๑ ย่อมรู้สามเณรที่ใช้แล้ว และยังไม่ได้ใช้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสามเณรเปสกะ ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑ กล่าวเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณี... สิกขมานา... สามเณร... สามเณรี... อุบาสก... อุบาสิกา ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาโยนลง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 512
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นฐานะแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์ เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.
[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาชีวกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง.
[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิครนถ์... สาวกนิครนถ์... ชฎิล... ปริพาชก... เดียรถีย์พวกมาคัณฑิกะ... พวกเตทัณฑิกะ... พวกอารุทธกะ... พวกโคตมกะ... พวกเทวธัมมิกะ... ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน? คือ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ ดื่มน้ำเมา คือ สุรา และเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เดียรถีย์ พวกเทวธัมมิกะประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ นี้แล ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาโยนลง.
[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาทีนว-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 513
สัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ.
[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ.
[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ.
[๒๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งราคะ ๕ ประการเป็นไฉน? คือ กำลังคือสัทธา ๑ กำลังคือวิริยะ ๑ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ นี้แล ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ซึ่งราคะ.
[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ ก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.
จบปัญจกนิบาต
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 514
อรรถกถาพระสูตรที่มิได้รวมเข้าในวรรค
พึงทราบวินิจฉัย ในสูตรที่ ๑ (บาลีข้อ ๒๕๑) วรรคที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อุปสมฺปาเทตพฺพํ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์ ควรให้อุปสมบท.
สูตรที่ ๒ (บาลีข้อ ๒๕๒) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า นิสฺสโย ทาตพฺโพ ได้แก่ เป็นอาจารย์พึงให้นิสัยได้.
สูตรที่ ๓ (บาลีข้อ ๒๕๓) พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้.
บทว่า สามเณโร อุปฏฺาเปตพฺโพ ได้แก่ เป็นอุปัชฌาย์พึงให้ สามเณรอุปัฏฐากได้. สามสูตรนี้ ตรัสโดยหมายถึง พระขีณาสพในปฐมโพธิกาลเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
สูตรที่ ๔ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น โดยพรรณนาตามลำดับ บท. เรื่องวินิจฉัยภัตตุทเทสก์เป็นต้น พึงทราบโดยนัยนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อ สมันตปาสาทิกาแล.
[๒๖๑] บทว่า สมฺมโต น เปเสตพฺโพ ได้แก่ ภิกษุได้รับสมมติตามปกติ ก็ไม่ควรส่งไปด้วยคำสั่งว่า ท่านจงไป จงแสดงภัตทั้งหลาย ดังนี้. บทว่า สาฏิยคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกจ่าย ผ้าอาบน้ำฝน. บทว่า ปตฺตคฺคาหาปโก ได้แก่ เจ้าหน้าที่ผู้แจกบาตร ที่ท่านกล่าวไว้ในข้อนี้ว่า บาตรใด เป็นบาตรสุดท้ายของภิกษุบริษัทนั้น บาตรนั้นควรให้ถึงแก่ภิกษุนั้น.
* ในบาลีไม่ได้จัดเป็นสูตร อรรถกถาแก้ ตั้งแต่ข้อ ๒๕๑ ถึงข้อ ๒๗๑
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 515
[๒๖๕] บทว่า อาชีวโก ได้แก่ นักบวชเปลือย.
[๒๖๖] บทว่า นิคฺคณฺโ ได้แก่ ปิดกายท่อนบน. บทว่า มุณฺฑสาวโก ได้แก่ สาวกของนิครนถ์. บทว่า ชฎิลโก คือ ดาบส. บทว่า ปริพฺพาชโก คือ ปริพาชกผู้นุ่งห่มผ้า. แม้นักบวชมีมาคัณฑิกะ เป็นต้น ก็จัดเป็นเดียรถีย์เหมือนกัน. ส่วนสุกกปักข์ มิได้ถือเอา เพราะนักบวชเหล่านั้น ไม่มีการทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทที่เหลือ ในที่ทุกแห่งง่าย ทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถา ปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี