พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อนุตัปปิยสูตร ว่าด้วยการอยู่ที่ทําให้เดือดร้อนและไม่เดือดร้อน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39362
อ่าน  365

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 556

ปฐมปัณณาสก์

สาราณิยาทิวรรคที่ ๒

๕. อนุตัปปิยสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่ทําให้เดือดร้อน และไม่เดือดร้อน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 556

๕. อนุตัปปิยสูตร

ว่าด้วยการอยู่ที่ทำให้เดือดร้อน และไม่เดือดร้อน

[๒๘๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบการงาน ยินดีการงาน ขวนขวายความชอบการงาน ชอบการคุย... ชอบความหลับ... ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ... ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์... ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ ไม่ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อนเป็นอย่างไร? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการคุย... ไม่ชอบความหลับ... ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ... ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 557

เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน อย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ.

ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าว ไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้กล่าว คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผู้ใดประกอบธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เช่นดัง มฤค ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพาน ที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้ใดละธรรม ที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในบท คือ ธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น ย่อมได้ชมนิพพาน ที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้.

จบอนุตัปปิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนุตัปปิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอนุตัปปิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุตปฺปา ความว่า ต้องโศกเศร้าในภายหลัง คือ ทำความเดือดร้อนให้ในภายหลัง. ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ก็ดี ในคาถาทั้งหลายก็ดี พระสารีบุตรกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถา อนุตัปปิยสูตรที่ ๕