พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ปฐมอปริหานิยสูตร ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖

 
บ้านธัมมะ
วันที่  30 ต.ค. 2564
หมายเลข  39379
อ่าน  417

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 615

ปฐมปัณณาสก์

เสขปริหานิยวรรควรรณาที่ ๔

๒. ปฐมอปริหานิยสูตร

ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 615

๒. ปฐมอปริหานิยสูตร

ว่าด้วยอปริหานิยธรรม ๖

[๓๐๓] ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมี งามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่อันควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไป เพื่อความไม่เสื่อม แก่ภิกษุ เทวดา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 616

นั้น ได้กล่าวดังนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย ลำดับนั้น เทวดาองค์นั้น ทราบว่า พระศาสดาของเรา ทรงพอพระทัยแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว หายไป ณ ที่นั้น.

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว มีรัศมีงามยิ่ง ยังวิหารเชตวันทั้งสิ้น ให้สว่างไสว แล้วเข้ามาหาเราถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระธรรม ๑ ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ๑ ความเป็นผู้เคารพในสิกขา ๑ ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ๑ ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๑ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อม เป็นไป เพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาองค์นั้น ได้กล่าวดังนี้แล้ว อภิวาทเรา ทำประทักษิณแล้ว ได้หายไป ณ ที่นั้น.

ภิกษุผู้เคารพในพระศาสดา เคารพในพระธรรม เคารพอย่างแรงกล้าในพระ สงฆ์ เคารพในความไม่ประมาท เคารพในปฏิสันถาร ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อเสื่อม ย่อมมี ณ ที่ใกล้นิพพานทีเดียว.

จบปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 617

อรรถกถาปฐมอปริหานิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

ความเป็นผู้เคารพในพระศาสดา ชื่อว่า สตฺถุคารวตา. ความเป็นผู้เคารพใน โลกุตตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธมฺมคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในพระสงฆ์ ชื่อว่า สงฺฆคารวตา. การกระทำความเคารพในสิกขา ๓ ชื่อว่า สิกฺขาคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในความไม่ประมาท ชื่อว่า อปฺปมาทคารวตา. ความเป็นผู้เคารพในปฏิสันถาร ๒ อย่าง ด้วยสามารถแห่งธรรม และอามิส ชื่อว่า ปฏิสณฺารคารวตา.

ภิกษุชื่อว่า สตฺถุครุ เพราะมีความเคารพในพระศาสดา. ภิกษุ ชื่อว่า ธมฺมครุ เพราะมีความเคารพในพระธรรม. ความเคารพอย่างหนัก ชื่อว่า ติพฺพคารโว. ภิกษุชื่อว่า ปฏิสณฺารคารโว เพราะมีความเคารพในปฏิสันถาร.

จบอรรถกถา ปฐมอปริหานิยสูตรที่ ๒