พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยมพระผัคคุณะอาพาธ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39403
อ่าน  466

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 718

ทุติยปัณณาสก์

มหาวรรคที่ ๑

๒. ผัคคุณสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม พระผัคคุณะ อาพาธ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 718

๒. ผัคคุณสูตร

ว่าด้วยพระพุทธองค์เสด็จเยี่ยม พระผัคคุณะ อาพาธ

[๓๒๗] ก็สมัยนั้น ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยม ท่านพระผัคคุณะเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ โดยดุษณีภาพ ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปเยี่ยม ท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาแต่ไกล แล้วจะลุกจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะ ท่านพระผัคคุณะว่า อย่าเลย ผัคคุณะ เธออย่าลุกขึ้นจากเตียง อาสนะเหล่านี้ ที่ผู้อื่นได้ปูไว้ มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทับนั่ง บนอาสนะที่ได้ปูไว้แล้ว ครั้นแล้ว ได้ตรัสถาม ท่านพระผัคคุณะว่า ดูก่อนผัคคุณะ เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาย่อมบรรเทา ไม่กำเริบหรือ ปรากฏว่าบรรเทา ไม่กำเริบขึ้นหรือ.

ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษ มีกำลังพึงเฉือนศีรษะ ด้วยมีดโกนที่คมฉันใด ลมกล้าเสียดแทง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 719

ศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏว่ากำเริบขึ้น ไม่บรรเทาเลย เปรียบเหมือนบุรุษ ผู้มีกำลังพึงเอาเชือก ที่เหนี่ยวแน่นพันศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดที่ศีรษะของข้าพระองค์ ก็มีประมาณยิ่ง ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เปรียบเหมือนบุรุษฆ่าโค หรือลูกมือของบุรุษฆ่าโค เป็นคนขยัน พึงใช้มีดสำหรับ ชำแหละโคที่คม ชำแหละท้องโค ฉันใด ลมกล้า มีประมาณยิ่ง ย่อมเสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้... เปรียบบุรุษผู้มีกำลังสองคน จับบุรุษผู้อ่อนกำลังคนเดียวที่แขน คนละข้าง แล้วพึงลนย่างบนหลุมถ่านไฟ ฉันใด ความเร่าร้อนที่กายของข้าพระองค์ก็มี ประมาณยิ่ง ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตตภาพ ให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนัก ไม่บรรเทา ปรากฏ ว่ากำเริบขึ้นไม่บรรเทาเลย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจง ด้วยธรรมีกถาให้ท่านพระผัคคุณะ เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปแล้วไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้กระทำกาละ และในเวลามรณะ อินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะนั้น ผ่องใสยิ่งนัก.

อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๖

ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า พระมีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจากมาไม่นาน ท่านพระผัคคุณะ ก็กระทำกาละ และในเวลามรณะ อินทรีย์ของท่านพระผัคคุณะ ผ่องใสยิ่งนัก พระ-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 720

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็อินทรีย์ของผัคคุณะภิกษุ จักไม่ผ่องใสได้ อย่างไร จิตของผัคคุณะภิกษุ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ จิตของผัคคุณะภิกษุนั้น ก็หลุดพ้นแล้วจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น อันงามในท่ามกลาง อันงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง แก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวก ของตถาคตเลย แต่ย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิต

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 721

ของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓ ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร.

ดูก่อนอานนท์ จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอ ยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไป ในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไป แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว จากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอ ยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไป แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอย่อมได้เห็นสาวก ของพระตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรม อันงามในเบื้องต้น... แก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อม ไปในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ในการฟังธรรม โดยกาลอันควร.

อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุหลุดพ้นแล้ว จากสังโยชน์ อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอ ยังไม่น้อมไปในนิพพาน อันเป็นที่สิ้นไป แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ ในเวลาใกล้ตาย เธอย่อมไม่ได้เห็นพระตถาคต และย่อมไม่ได้เห็นสาวก ของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอ ย่อมน้อมไปในนิพพาน อันเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 722

ที่สิ้นไป แห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ดูก่อนอานนท์ นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๖ ในการใคร่ครวญ เนื้อความแห่งธรรม โดยกาลอันควร.

ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ในการฟังธรรม ในการใคร่ครวญเนื้อความ โดยกาลอันควร ๖ ประการ นี้แล.

จบผัคคุณสูตรที่ ๒

อรรถกถาผัคคุณสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในผัคคุณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺญฺโจปิ ได้แก่ แสดงอาการลุกขึ้น. บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ทุเลาลง. บทว่า โน อภิกฺกมนฺติ ได้แก่ ไม่กำเริบ. บทว่า สีสเวนํ ทุเทยฺย ได้แก่ พันศีรษะแล้วเอาไม้ขันเวียนรอบ (ศีรษะ). บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสุ ความว่า ในเวลาใกล้ตายนั้น อินทรีย์ ๖ ผ่องใส. บทว่า อตฺถุปปริกฺขาย ได้แก่ ด้วยการใคร่ครวญถึงประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ คือ เหตุ และมิใช่เหตุ. บทว่า อนุตฺตเร อุปธิสํขเย ได้แก่ ในนิพพาน. บทว่า อธิมุตฺตํ โหติ ได้แก่ น้อมไปด้วยอรหัตตผล.

จบอรรถกถา ผัคคุณสูตรที่ ๒