พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อธิคมสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรบรรลุกุศลธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39429
อ่าน  422

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 804

ทุติยปัณณาสก์

อรหันตวรรคที่ ๓

๕. อธิคมสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควร บรรลุกุศลธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 804

๕. อธิคมสูตร

ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควร บรรลุกุศลธรรม

[๓๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร เพื่อบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้ว ให้เจริญ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ฉลาด ในเหตุแห่งความเจริญ ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาด ในเหตุแห่งความเสื่อม ๑ เป็นผู้ไม่ฉลาดในอุบาย ๑ ไม่ยังฉันทะให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ไม่รักษากุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้ว ๑ และ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 805

ไม่ยังฉันทะ ให้ถึงพร้อม เพื่อกระทำติดต่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้ไม่ควร เพื่อบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้ว ให้เจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อบรรลุกุศลธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้ว ให้เจริญ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเจริญ ๑ เป็นผู้ฉลาดในเหตุแห่งความเสื่อม ๑ เป็นผู้ฉลาดในอุบาย ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิดขึ้น เพื่อบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ ๑ ย่อมรักษากุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้ว ๑ และย่อมยังฉันทะ ให้ถึงพร้อม เพื่อกระทำติดต่อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้ควร เพื่อบรรลุกุศลธรรม ที่ยังไม่ได้บรรลุ หรือเพื่อกระทำกุศลธรรม ที่ได้บรรลุแล้วให้เจริญ.ุ

จบอธิคมสูตรที่ ๕

อรรถกถาอธิคมสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในอธิคมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อายกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ไม่ฉลาดในเหตุที่จะให้ประสบ. บทว่า น อปายกุสโล ได้แก่ ไม่ฉลาดในเหตุที่ไม่ให้ประสบ. บทว่า ฉนฺทํ ได้แก่ ความพอใจ คือ ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ. บทว่า น อารกฺขติ ได้แก่ ไม่รักษา.

จบอรรถกถา อธิคมสูตรที่ ๕