พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. มหัตตสูตร ว่าด้วยผู้ควรบรรลุความเป็นใหญ่ในธรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39430
อ่าน  439

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 806

ทุติยปัณณาสก์

อรหันตวรรคที่ ๓

๖. มหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควรบรรลุ ความเป็นใหญ่ในธรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 806

๖. มหัตตสูตร

ว่าด้วยผู้ควรบรรลุ ความเป็นใหญ่ในธรรม

[๓๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมบรรลุ ความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มาก ด้วยความสว่างแห่งญาณ ๑ ย่อมเป็นผู้มาก ด้วยความเพียรเครื่องประกอบ ๑ ย่อมเป็นผู้มาก ด้วยความบันเทิงใจ (ปีติ และปราโมทย์) ๑ ย่อมเป็นผู้มาก ด้วยความไม่ยินดีในอกุศลธรรม ๑ ย่อมเป็นผู้ไม่ทอดธุระ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ และย่อมพยายามให้ยิ่งขึ้นไป ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล ย่อมบรรลุความเป็นผู้มาก ความเป็นผู้ไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย ต่อกาลไม่นานนัก.

จบมหัตตสูตรที่ ๖

อรรถกถามหัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในมหัตตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาโลกพหุโล ได้แก่ มากไปด้วย แสงสว่างแห่งญาณ. บทว่า ปโยคพหุโล ได้แก่ กระทำความเพียรให้มาก. บทว่า เวทพหุโล ได้แก่ มากไปด้วยปีติ และปราโมทย์. บทว่า อสนฺตุฏฺิพหุโล ได้แก่ ไม่สันโดษ ในกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ วางธุระ คือ ประคองความเพียรไว้. บทว่า อุตฺตริญฺจ ปตาเรติ ได้แก่ ทำความเพียรในบัดนี้ และให้ยิ่งๆ ขึ้นไป.

จบอรรถกถา มหัตตสูตรที่ ๖