๔. สุสสูสาสูตร ว่าด้วยผู้ควรและไม่ควรเข้าถึงธรรม
[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 816
ทุติยปัณณาสก์
สีติวรรคที่ ๔
๔. สุสสูสาสูตร
ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรเข้าถึงธรรม
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 816
๔. สุสสูสาสูตร
ว่าด้วยผู้ควร และไม่ควรเข้าถึงธรรม
[๓๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควร เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ๑ ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ๑ ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ ทิ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ ที่ไม่สมควร ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควร เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควร เพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน? คือ เมื่อธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมฟังด้วยดี ๑ ย่อมเงี่ยโสตลงฟัง ๑ เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติ ที่สมควร ๑ ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ นี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย.
จบสุสสูสาสูตรที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 817
อรรถกถาสุสสูสาสูตร
พึงทราบวินิจฉัย ในสุสสูสาสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อนตฺถํ ได้แก่ ความไม่เจริญ. บทว่า อตฺถํ ริญฺจติ ความว่า ทอดทิ้งประโยชน์ คือ ความเจริญ. บทว่า อนนุโลมิกาย ความว่า (ด้วยความชอบใจ) อันไม่เป็นไปโดยอนุโลม ตามคำสอน.
จบอรรถกถา สุสสูสาสูตรที่ ๔