พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมอโนทิสสูตร ว่าด้วยอานิสงส์ทําให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  31 ต.ค. 2564
หมายเลข  39452
อ่าน  406

[เล่มที่ 36] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 828

ทุติยปัณณาสก์

อานิสังสวรรคที่ ๕

๗. ปฐมอโนทิสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ ทําให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 36]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 828

๗. ปฐมอโนทิสสูตรที่ ๑

ว่าด้วยอานิสงส์ ทำให้เกิดอนิจจสัญญา ๖ ประการ

[๓๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา ให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการเป็นไฉน? คือ ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า สังขารทั้งปวงจักปรากฏ โดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑ ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑ ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑ ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑ สังโยชน์ทั้งหลายของเรา จักถึงการละได้ ๑ และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วย สามัญธรรมชั้นเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้พิจารณา เห็นอานิสงส์ ๖ ประการ นี้แล เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัด ในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญา ให้ปรากฏ.

จบปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 29 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้า 829

อรรถกถาปฐมอโนทิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัย ในปฐมอโนทิสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อโนธึ กริตฺวา ความว่า ไม่ทำให้มีขอบเขต คือ เขตแดน อย่างนี้ว่า สังขารมีประมาณเท่านี้แหละ ไม่เที่ยง นอกจากนี้ไป ไม่ใช่ไม่เที่ยง (คือเที่ยง). บทว่า อนวฏฺิตโต ความว่า เว้นจากฐานะ (เหตุที่เป็นไปได้) เพราะความเป็นของไม่มั่นคง อธิบายว่า จักเป็นสภาวธรรมแตกดับไป แล้ว จึงหยุด. บทว่า สพฺพโลเก ควานว่า ในโลกทั้งสิ้น ได้แก่ ในธาตุทั้ง ๓. บทว่า สามญฺเน ความว่า โดยความเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่ พระอริยมรรค.

จบอรรถกถา ปฐมอโนทิสูตรที่ ๗